Page 74 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 74

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          68








                  ตารางที่ 17  มวลชีวภาพของต้นและน้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 14 เปอร์เซ็นต์ จากการปลูกรอบที่ 1

                               ตำรับการทดลอง                    น้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 14 % (กิโลกรัมต่อไร่)
                   1 = ควบคุม                                                   932.80

                   2 = น้ำหมักชีวภาพ                                           1,055.80
                   3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส                   1,067.00

                   4 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส                                1,058.30
                   5 = ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1                           943.30

                                   F-test                                         ns
                                   CV (%)                                        9.68


                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT
                            ns  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

                                      จากผลการใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำ หรือผลิตภัณฑ์
                  เอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ฉีดพ่นตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแปลง

                  เพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 10 วัน ก่อนการหยอดเมล็ด พบว่า ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์
                  เซลลูเลส แบบผงละลายน้ำ มีผลให้อัตราการย่อยสลายเศษตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพไร่สูงกว่าการไม่ใช้
                  ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารที่สะสมในดินภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต

                  พืชเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำ มีองค์ประกอบที่เป็นประโยชน์จาก
                  กิจกรรมจุลินทรีย์ของเชื้อรา Corynascus verrucosus 23 ที่สร้างสารเอนไซม์เซลลูเลสได้สูง เป็นเชื้อที่ทนต่อ
                  อุณหภูมิสูงในขบวนการหมักได้เป็นอย่างดี มีรายงานการใช้ประโยชน์พัฒนาเป็นผลิตเอนไซม์เชิงอุตสาหกรรม
                  (Brink et al., 2012) ดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ดังกล่าว สามารถช่วยเร่งการย่อยสลายเศษพืช และช่วยลดระยะเวลา

                  ในการหมัก ขณะที่ตำรับการทดลองที่ใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาเป็นการเพิ่มแหล่งไนโตรเจน และแหล่งอาหาร
                  ให้กับจุลินทรีย์ตามธรรมชาติในการช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายตอซัง มีทั้งแบคทีเรียกลุ่มย่อยซากพืชและซากสัตว์
                  โดยคำแนะนำสำหรับการหมักย่อยสลายตอซังข้าว (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) และจากรายงานของจันทนา (2558)
                  การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดิน และอีเอ็มที่มีจุลินทรีย์ในกลุ่มย่อยสลายเซลลูโลสช่วยย่อยสลายเยื่อใย

                  และเซลลูโลส เชื้อจุลินทรีย์สามารถย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลสจนได้โมเลกุลขนาดเล็กลง และนำเข้าไปใน
                  เซลล์เพื่อเป็นแหล่งของคาร์บอนและพลังงาน และจากรายงานของ Stuetzenberger et al. (1970) เซลลูโลสเป็น
                  สารประกอบคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของพืชโดยทั่วไป จากการศึกษาปริมาณของเซลลูโลสใน
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่า มีประมาณ 30 - 40 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของส่วนประกอบทั้งหมด โมเลกุลของ

                  เซลลูโลสประกอบด้วยหน่วยย่อยของ D-anhydro glucopyranose มาเชื่อมต่อกัน เป็นสายแบบ linear
                  polymer ด้วยพันธะ glycosidic จำนวนหน่วยย่อยของโมเลกุลเซลลูโลส มักจะแตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง
                  ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช (Cowling and Kirk, 1976) โดยจุลินทรีย์จะปลดปล่อยเอนไซม์เซลลูเลสออกมาภายนอก

                  เซลล์ เพื่อย่อยสลายองค์ประกอบของพืชให้กลายเป็นอินทรียวัตถุที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ และใช้
                  อินทรียวัตถุเป็นแหล่งพลังงาน เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ โดยปริมาณของจุลินทรีย์จะเพิ่มขึ้นมาก
                  เมื่อเกิดการย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลสในสภาพที่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิ และแหล่งอาหารที่เพียงพอ
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79