Page 77 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 77

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          71








                  ตารางที่ 20  มวลชีวภาพของต้นและน้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 14 เปอร์เซ็นต์ จากการปลูกรอบที่ 2

                                ตำรับการทดลอง                     น้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 14 %(กิโลกรัมต่อไร่)

                   1 = ควบคุม                                                   1,340.80 b

                   2 = น้ำหมักชีวภาพ                                            1,353.60 b

                   3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส                    1,505.00 a
                   4 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส                                 1,335.60 b

                   5 = ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.1                            1,329.90 b

                                     F-test                                         **

                                    CV (%)                                         6.05

                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT
                            ns  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
                            *  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                            **  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ


                                      เมื่อพิจารณาผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกรอบที่ 2 พบว่า ตำรับการ
                  ทดลองที่ 3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อ

                  ไร่ ฉีดพ่นตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างต่อเนื่อง 2 ปี เพื่อเร่งการย่อยเศษตอซังก่อนการปลูกข้าวโพด มีผลให้
                  ผลผลิตน้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 14 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นได้สูงสุด ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อย
                  สลายตอซังพืชประกอบด้วยเชื้อรา Corynascus verrucosus 23 ที่สร้างเอนไซม์เซลลูเลสได้สูง และมีเอนไซม์
                  เซลลูเลส เป็นองค์ประกอบ สอดคล้องกับงานวิจัยของดุสิต (2562) การใช้ชีวภัณฑ์ชนิดผงสำหรับการย่อยสลาย

                  ฟางข้าวและควบคุมโรคขอบใบไหม้ของข้าวประกอบด้วย Bacillus subtillis  Aspergillus sp.  Azotobacter
                  sp.  Saccharomyces cerevisiae และ Trichoderma sp. มีอัตราการย่อยฟางข้าวสูงสุด ส่งเสริมการเจริญ
                  และเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าว โดยเชื้อรา Aspergillus sp เป็นราที่สร้างสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดไปย่อยสลายซากสัตว์
                  หรือซากอินทรียวัตถุ ให้กลายเป็นอนินทรียสารที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และการใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะ

                  ทำให้ผลผลิตน้ำหนักเมล็ดเพิ่มขึ้น 35 - 60 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งจากการสับกลบตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลงดินจาก
                  การปลูกรอบที่ 1 ซึ่งเศษซากของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีองค์ประกอบของธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
                  โพแทสเซียม เมื่อผ่านกระบวนย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยกิจกรรมจุลินทรีย์แล้ว พืชก็สามารถนำธาตุอาหาร
                  เหล่านี้ ไปใช้ประโยชน์ในการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต อีกทั้ง ตอซังข้าวโพดเลี้ยงที่ย่อยสลายเป็นการเพิ่ม

                  อินทรียวัตถุในดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช และส่งเสริมระบบนิเวศใน
                  ดินอีกด้วย (กรมพัฒนาที่ดิน, ม.ป.ป.) อินทรียวัตถุในดินประกอบด้วยสารฮิวมิก (ไพบูลย์, 2546) โดยจะพบสาร
                  ฮิวมิกในดินทั่วไป ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของอินทรียวัตถุในดิน (Muscolo et al., 2007) ซึ่งสารฮิวมิกมี

                  บทบาทที่สำคัญต่อดินทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ โดยหน้าที่สำคัญที่มีต่อสมบัติทางกายภาพของดิน คือ
                  ช่วยให้ดินโปร่งไม่อัดกันแน่น (Soane, 1990) เพราะทำให้อนุภาคของดินเกาะรวมกันเป็นเม็ดดิน มีผลทำให้ดิน
                  มีการระบายอากาศได้ดี จึงช่วยให้รากพืชหายได้ดี เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ และลดการกัดเซาะพังทลาย
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82