Page 70 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 70

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          64








                  ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับปานกลาง (สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการ
                  พัฒนาที่ดิน, 2548)
                                      1.2.4) ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ พบว่า มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่าง
                  ตำรับการทดลอง มีค่าระหว่าง 177.46 - 192.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีค่าเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ

                  ดินก่อนการทดลองมีปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 120 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อใช้หลักเกณฑ์ของ
                  สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน (2548) มาพิจารณาร่วมด้วย พบว่า ดินภายหลังการทดลองมีปริมาณ
                  โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ จัดอยู่ในระดับสูงมาก และยกระดับสูงขึ้นจากดินก่อนการทดลองที่อยู่ในระดับสูง
                                 1.3) สมบัติทางเคมีของดินหลังการทดลอง จากการปลูกรอบที่ 2 (ตารางที่ 15)

                                      1.3.1) ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน พบว่า ความเป็นกรดเป็นด่างของดินหลังการ
                  ทดลอง มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่าง 8.23 - 8.30 ดินเป็นด่างปานกลาง (สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อ
                  การพัฒนาที่ดิน, 2548) จากข้อมูลความเป็นด่างของดินจากการปลูกรอบที่ 2 มีค่าลดลงต่ำกว่าดินก่อนการ
                  ทดลองจาก 8.60 และภายหลังจากการปลูกรอบที่ 1 มีค่า 8.43 ทั้งนี้เนื่องจากอินทรียวัตถุในดินมีประจุลบเป็น

                  จำนวนมาก และมีความสามารถในการดูดซับประจุบวกได้สูง จึงมีผลทำให้ดินที่มีอินทรียวัตถุสูงมีความ
                  ต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ดี (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)
                                      1.3.2) ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าไม่แตกต่างกัน

                  ทางสถิติ มีค่าระหว่าง 2.84 - 3.03 เปอร์เซ็นต์ จากค่าเฉลี่ยปริมาณอินทรียวัตถุในดิน 2.90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อ
                  เปรียบเทียบกับดินก่อนการทดลอง 2.50 เปอร์เซ็นต์ และดินภายหลังการทดลองจากการปลูกรอบที่ 1 มี
                  ค่าเฉลี่ย 2.19 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้หลักเกณฑ์ของสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน (2548) มาพิจารณาร่วม
                  ด้วย พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุในดินภายหลังการทดลองมีการสะสมเพิ่มขึ้น จัดอยู่ในระดับสูง สามารถ
                  ยกระดับปริมาณอินทรียวัตถุในดินเมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนการทดลอง และดินภายหลังจากการปลูกรอบที่

                  1 มีค่าเพิ่มสูงขึ้นคิดเป็น 16.0 เปอร์เซ็นต์ และ 32.42 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากการสับกลบตอซัง
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีผลต่อการสะสมปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น จากการสับกลบตอซังพืช หรือเศษพืชที่
                  เหลือลงดินเป็นการเพิ่มแหล่งอินทรีย์คาร์บอน เกิดการย่อยสลายเกิดเป็นอินทรียวัตถุในดินจากกิจกรรม

                  จุลินทรีย์ อีกทั้งการสับกลบเศษพืชอย่างต่อเนื่องเป็นการเพิ่มแหล่งอินทรียวัตถุ และเพิ่มการสะสม
                  อินทรียวัตถุในดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                                      1.3.3) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ พบว่า ตำรับการทดลองที่ 3 ผลิตภัณฑ์
                  จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุด มีค่า 73.25 มิลลิกรัมต่อ

                  กิโลกรัม จัดอยู่ในระดับสูงมาก มีค่าสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบ
                  กับตำรับการทดลองอื่น ๆ มีค่าระหว่าง 46.75 – 58.75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับสูงมาก และมีค่า
                  เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนการทดลองมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                  จัดอยู่ในระดับปานกลาง และดินภายหลังจากการปลูกรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 40.68 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ใน

                  ระดับสูง (สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2548)
                                      1.3.4) ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ พบว่า มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่าง
                  ตำรับการทดลอง มีค่าระหว่าง 211.5 – 231.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับสูงมาก และมีค่าเพิ่มสูงขึ้น
                  เมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนการทดลองมีปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 120 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่

                  ในระดับสูง และดินภายหลังจากการปลูกรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 186.97 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับสูง
                  มาก (สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2548)
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75