Page 72 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 72

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          66








                  เอนไซม์เซลลูเลส ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเซลลูโลสที่เป็นองค์ประกอบของเซลล์พืช ทำให้เกิดการ
                  ย่อยสลาย และปลดปล่อยธาตุอาหารพืช จากกิจกรรมของจุลินทรีย์และเอนไซม์ เกิดการสะสมในดินได้เร็วและ
                  มากขึ้น ทั้งนี้ต้นข้าวโพดเป็นวัสดุย่อยสลายง่าย มีองค์ประกอบทางเคมี ประกอบด้วยอัตราส่วนคาร์บอนต่อ
                  ไนโตรเจน 62 ไนโตรเจน 0.53 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.15 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียม 2.21 เปอร์เซ็นต์ เป็น

                  แหล่งอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืช อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารและพลังงานให้กับจุลินทรีย์ (กรมพัฒนาที่ดิน,
                  2551) โดยเศษซากพืชมีปริมาณเยื่อใยสูง มีผลต่อการย่อยได้ของวัตถุแห้ง จากรายงาน Leash and Daynard
                  (1973) พบว่า ความหนาแน่นของต้นข้าวโพด 8,533 ต้นต่อไร่ มีค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้งสูง และการย่อยได้
                  ของวัตถุแห้งในตอซังข้าวโพด มีอัตราลดลง 1.5 เปอร์เซ็นต์ต่อสัปดาห์ จากผลการทดลองของงานวิจัยนี้ เมื่อ

                  ประเมินจากองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุเศษเหลือทิ้งในส่วนของตอซังข้าวโพด คิดเป็นวัตถุแห้ง 89.2
                  เปอร์เซ็นต์ จากการประเมินธาตุอาหารพืชจากเซลล์พืชที่ผ่านการย่อยสลายด้วยกระบวนการทางชีวภาพด้วย
                  กิจกรรมของจุลินทรีย์ โดยคิดสัดส่วนมวลชีวภาพของต้น ตอ และใบของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็น 1.245 ตันต่อตัน
                  ผลผลิต (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2561) เมื่อประเมินโดยคิดจากค่าเฉลี่ยผลผลิตจาก

                  การปลูกรอบที่ 1 พบว่า ตำรับควบคุมมีค่าผลผลิต 932.80 กิโลกรัม คิดเป็นมวลชีวภาพตอซังข้าวโพด
                  1,161.34 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นปริมาณธาตุอาหารใส่กลับลงไปในดิน ดังนี้ ปริมาณไนโตรเจน 6.16 กิโลกรัม
                  ต่อไร่ ปริมาณฟอสฟอรัส 1.74 กิโลกรัมต่อไร่ และปริมาณโพแทสเซียม 25.67 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่การใส่

                  ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซัง มีค่าเฉลี่ยผลผลิต 1,031.10 กิโลกรัม คิดเป็นมวลชีวภาพตอซัง
                  ข้าวโพด 1,283.72 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นปริมาณธาตุอาหารใส่กลับลงไปในดิน ดังนี้ ปริมาณไนโตรเจน 6.80
                  กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณฟอสฟอรัส 1.93 กิโลกรัมต่อไร่ และปริมาณโพแทสเซียม 28.37 กิโลกรัมต่อไร่ และจาก
                  การปลูกรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยผลผลิตสูงขึ้นเป็น 1,104.96 กิโลกรัม คิดเป็นมวลชีวภาพตอซังข้าวโพด 1,375.68
                  กิโลกรัมต่อไร่ จึงมีการสะสมอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินได้เพิ่มมากขึ้น และจากงานวิจัยของชนากานต์

                  และคณะ (2565) การสับกลบหมักฟางข้าวด้วยสารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 ที่ขยายเชื้อ ทำให้มีปริมาณอินทรียวัตถุ
                  เพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.80 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดินได้เช่นกัน ซึ่งจากผลการทดลอง
                  ดังกล่าวข้างต้น การใส่ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ในการ

                  ย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแปลงอย่างต่อเนื่อง 2 รอบการปลูก มีผลให้การสะสมปริมาณฟอสฟอรัสที่
                  เป็นประโยชน์และปริมาณโพแทสเซียมในดินเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด ซึ่งหากดินมีปริมาณฟอสฟอรัสและ
                  โพแทสเซียมสะสมในดินระดับความเข้มข้นสูงมากลักษณะดังกล่าวนี้ สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัสและ
                  โพแทสเซียมลงได้


                         5.4.2 การเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลง จากการปลูกรอบที่ 1
                               1) การเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากการปลูกรอบที่ 1 (ตารางที่ 16)

                                 1.1) ค่าความเขียวใบ พบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่อายุ 30 วัน ตำรับการทดลองที่ 3 ผลิตภัณฑ์
                  จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส และตำรับการทดลองที่ 5
                  ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 มีค่าความเขียวใบสูงสุดมีค่าระหว่าง 47.11 - 47.62 (SPAD reading) ไม่แตกต่าง

                  กันทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ มีค่า 46.24 (SPAD reading) แต่มีค่าสูงกว่า
                  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับควบคุมมีค่าความเขียวใบต่ำสุด 43.45
                  (SPAD reading) เมื่อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่อายุ 60 วัน มีค่าความเขียวใบไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่มีแนวโน้มว่าการ
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77