Page 78 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 78

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          72








                  ของหน้าดิน (Piccolo et al., 1997) ซึ่งหน้าที่สำคัญของสารฮิวมิกเป็นแหล่งธาตุอาหารแก่พืช และช่วยให้การ
                  ดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น จากคุณสมบัติเป็นสารอิเล็กโทรไลต์ สามารถแตกตัวและดูดจับธาตุอาหารพืชในดิน
                  แล้วดูดซึมผ่านทางรากพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี (Nardi et al., 2002) สามารถจะค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุ
                  อาหารหลักให้แก่พืชทีละน้อย (Ayuso et al., 1996) ทำให้ช่วยชะลอการสูญเสียธาตุอาหาร และคงความอุดม

                  สมบูรณ์แก่ดิน อีกทั้งอินทรียวัตถุในดินยังมีกรดฟูลวิก ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยให้สารอาหารพืชเกิด
                  ความพร้อมใช้ และทำให้ดูดซึมได้ง่ายยิ่งขึ้น (Christman et al., 1983) โดยให้รากพืชง่ายต่อการดูดซึม และผ่าน
                  ผนังเซลล์ได้อย่างง่าย ๆ (Prakash, 1971; Williams, 1963) ซึ่งสารเหล่านี้ มีผลในการกระตุ้นให้พืชเจริญเติบโต
                  อย่างสมบูรณ์และแข็งแรง และช่วยให้เกิดแบคทีเรีย เชื้อรา และแอคติโนมัยซิส เพื่อย่อยสลายซากพืชในดิน

                  (Kanonova, 1966) อีกทั้ง เมื่อเซลล์พืชได้รับกรดฟูลวิก จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าเดิม เพราะมีการรับ
                  ออกซิเจนที่มากขึ้น และกรดนี้จะช่วยให้มีการซึมผ่านรากได้ดี ทำให้รากพืชได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วย
                  กระตุ้นการเจริญเติบโตต่อระบบภูมิคุ้มกันของพืชด้วย (Rashid, 1985; Williams, 1963; Kanonova,1966)
                                 3.3) ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รอบที่ 2

                                      จากการประเมินค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกข้าวโพด
                  เลี้ยงสัตว์ ในตำรับการทดลองวิธีการแบบต่าง ๆ พบว่า ตำรับการทดลองที่ 3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสม
                  เอนไซม์เซลลูเลส พ่นตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในแปลง 20 วัน เพื่อเร่งการย่อยเศษตอซังก่อนการหยอดเมล็ด

                  ให้รายได้สุทธิสูงสุด คือ 9,707.90 บาทต่อไร่ รองลงมาคือ ตำรับควบคุมไม่มีการใส่ผลิตภัณฑ์ ให้รายได้สุทธิ
                  8,230.84 บาทต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 2 การฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากปลา อัตรา 5 ลิตร ผสมน้ำ 50 ลิตร
                  ต่อไร่ ให้รายได้สุทธิสูงสุด คือ 8,142.88 บาทต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส อัตรา
                  100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ให้รายได้สุทธิ คือ 8,132.48 บาทต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 5 ผลิตภัณฑ์สารเร่ง
                  พด.1 ให้รายได้สุทธิ คือ 8,078.47 บาทต่อไร่ ดังตารางที่ 23 และ 24



                  ตารางที่ 21  ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รอบที่ 2     หน่วย : บาทต่อไร่

                                                       ผลผลิต        รายได้        ต้นทุนรวม     รายได้สุทธิ
                            ตำรับการทดลอง
                                                       (กก./ไร่)

                   1 = ควบคุม                         1,340.80     12,469.44     4,238.60       8,230.84
                   2 = น้ำหมักชีวภาพ                  1,353.60     12,588.48     4,438.60       8,142.88

                   3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์  1,505.00     13,996.50     4,288.60       9,707.90
                       เซลลูเลส

                   4 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส       1,335.60     12,421.08     4,288.60       8,132.48

                   5 = ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.1    1,329.90    12,368.07    4,288.60       8,078.47

                  หมายเหตุ : ราคาผลผลิตเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 9.30 บาท
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83