Page 73 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 73

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          67








                  ใส่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพช่วยเร่งการช่วยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีค่าความเขียวใบระหว่าง 54.43 - 56.30 (SPAD
                  reading) มีแนวโน้มความเขียวใบสูงกว่าตำรับควบคุม มีค่าความเขียวใบ 53.46 (SPAD reading)
                                 1.2) ความสูงต้น พบว่า ค่าความสูงต้นของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่อายุ 30 วัน และ 60 วัน มีค่า
                  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ที่อายุ 30 วัน พบว่า ตำรับการทดลองที่ 3 ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์

                  ผสมเอนไซม์เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 5 ผลิตภัณฑ์สารเร่ง
                  ซุปเปอร์ พด. 1 และตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ มีความสูงต้นที่อายุ 30 วัน มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ
                  มีค่าระหว่าง 22.20 – 22.91 เซนติเมตร แต่ทุกตำรับการทดลองมีค่าสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                  (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับควบคุมที่อายุ 30 วัน มีค่าความสูงต้นต่ำสุด 15.72 เซนติเมตร เมื่อข้าวโพด

                  เลี้ยงสัตว์มีอายุ 60 วัน พบว่า ตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ ตำรับการทดลองที่ 3 ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสม
                  เอนไซม์เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส และตำรับการทดลองที่ 5 ผลิตภัณฑ์สารเร่ง
                  ซุปเปอร์ พด. 1 มีความสูงต้นที่อายุ 60 วัน มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติมีค่าระหว่าง 165.32 - 169.72 เซนติเมตร
                  แต่มีค่าสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับควบคุมที่อายุ 60 วัน มี

                  ความสูงต้นต่ำสุด 138.05 เซนติเมตร

                  ตารางที่ 16  ค่าความเขียวใบและความสูงต้นของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกรอบที่ 1

                                                     ค่าความเขียว (SPAD reading)    ความสูงต้น (เซนติเมตร)
                           ตำรับการทดลอง
                                                        30 วัน      60 วัน          30 วัน       60 วัน

                   1 = ควบคุม                        43.45 b        53.46          15.72 b     138.05 b
                   2 = น้ำหมักชีวภาพ                 46.24 ab       55.64          22.91 a     165.32 a

                   3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์  47.11 a       56.30          22.20 a     169.12 a
                       เซลลูเลส
                   4 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส      47.62 a        55.19          22.75 a     169.85 a

                   5 = ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.1   47.24 a      54.43          22.76 a     169.72 a
                                F-test                   *           ns               *            *

                               CV (%)                  5.39           3.49         18.47         10.51

                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT
                            ns  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

                            *  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

                                 2)  น้ำหนักผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากการปลูกรอบที่ 1
                                      น้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 14 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 17) พบว่า ตำรับการทดลองที่ 2 น้ำ

                  หมักชีวภาพ ตำรับการทดลองที่ 3 ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์
                  เอนไซม์เซลลูเลส และตำรับการทดลองที่ 5 ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 มีน้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 14
                  เปอร์เซ็นต์ มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่าง 943.30 - 1,067.00 กิโลกรัมต่อไร่ แต่มีแนวโน้มการ

                  เพิ่มขึ้นของน้ำหนักเมล็ดสูงกว่าตำรับควบคุม มีค่าน้ำหนักเมล็ด 932.80 กิโลกรัมต่อไร่
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78