Page 80 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 80

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          74









                  6.2 ประโยชน์ที่ได้รับ
                         6.2.1  นำองค์ความรู้การผลิตและใช้ประโยน์ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส และผลิตภัณฑ์
                  เอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลลายน้ำ เพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังพืช พัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมด้านการบำรุง

                  ดินด้วยอินทรียวัตถุ นำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรของประเทศไทย โดยผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการ
                  วางแผนกำหนดนโยบายการใช้นวัตกรรมด้านการจัดวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่เกษตรกรรม เป็นวิธีการจัดการด้าน
                  การบำรุงดินที่ไม่ต้องหาอินทรียวัตถุจากภายนอก เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ลดปัญหาดินเสื่อมโทรม เพิ่มความ
                  อุดมสมบูรณ์ของดิน และรักษาทรัพยากรดินทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

                         6.2.2  การต่อพัฒนางานทางด้านการบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุในพื้นที่เกษตร จากเศษพืชเหลือทิ้งใน
                  แปลงเพาะปลูก เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
                  จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร เผยแพร่สู่นักวิชาการ และกลุ่มเกษตรกร นำไปใช้ประโยชน์ในการ
                  รักษาระดับอินทรียวัตถุในดิน และฟื้นฟูคุณภาพดินทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

                         6.2.3  การต่อยอดขยายผลการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังพืช รูปแบบผงละลายน้ำที่
                  สะดวกต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่แปลงใหญ่ หรือระบบเกษตรอัจฉริยะ เช่น ใช้กับเครื่องจักร และโดรนบิน
                  ฉีดพ่น เป็นต้น เกษตรกรสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ได้ง่าย และขยายผลในพื้นที่ได้เป็นวงกว้าง

                         6.2.4  ลดการใช้ปุ๋ยเคมีจากการใช้เศษพืชวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่เกษตรกรรมเป็นแหล่งธาตุอาหารพืช ลด
                  หรือทดแทนปุ๋ยเคมี เพิ่มรายได้ และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
                         6.2.5 ลดปัญหาหมอกควัน และดินเสื่อมคุณภาพจากการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งในไร่นา โดยการ
                  หมุนเวียนวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตร เป็นแหล่งอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืชที่
                  สำคัญ สนับสนุนเศรษฐกิจชีวภาพ (BCG) รักษาระบบนิเวศดินและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน


                  6.3  ข้อเสนอแนะ
                        6.3.1  ควรนำผลจากงานวิจัยขยายผลสู่แปลงทดสอบในพื้นที่แปลงใหญ่ ศึกษาการใช้ประโยชน์ที่

                  เหมาะสมในสภาพการจัดการดินที่แตกต่างกันเพิ่มเติม เช่น การย่อยสลายเศษพืชในสภาพความชื้นดินที่
                  แตกต่างกัน เช่น สภาพดินแห้ง สภาพดินน้ำขัง และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่แบบไม่ต้องสับกลบเศษวัสดุใน
                  แปลง
                         6.3.2  ควรมีการทดสอบกับวัสดุเหลือใช้จากเศษพืชชนิดอื่น ๆ ที่มีปริมาณวัสดุเหลือทิ้งจำนวนมากใน

                  พื้นที่แปลงเกษตร เช่น อ้อย ข้าว เป็นต้น เพื่อเป็นแหล่งอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืชในพื้นที่เกษตรกรรม
                         6.3.3  ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมี สมบัติทางกายภาพดิน และสมบัติทางชีวภาพ ภายหลัง
                  การใช้ผลิตภัณฑ์ หรือการใช้ประโยชน์ร่วมกับผลิตภัณฑ์ชีวภาพชนิดอื่น ๆ เช่น ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อประโยชน์ในเพิ่ม
                  ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพิ่มผลผลิตพืช และการต่อยอดขยายผลสู่นักวิชาการและเกษตรกรต่อไป

                         6.3.4 ควรต่อยอดการศึกษาวัสดุเพาะเลี้ยงเชื้อแบบแข็งจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นส่วนผสม
                  ร่วมกับข้าวเสาไห้ เพื่อเพิ่มปริมาณเอนไซม์เซลลูเลสสูงขึ้น
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85