Page 71 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 71

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          65








                  ตารางที่ 15  สมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการทดลองจากการปลูกรอบที่ 1 และรอบที่ 2

                    ตำรับการทดลอง        pH (1:1)          OM (%)         Avail. P (mg/kg)   Exch. K (mg/kg)
                    ก่อนการทดลอง           8.60             2.50                13                 120

                    หลังการทดลอง     crop 1  crop 2  crop 1  crop 2  crop 1  crop 2          crop 1  crop 2
                           1          8.47  8.30       1.97 b  2.87     31.05 b  58.75 b     192.50  231.0

                           2          8.40  8.23       2.27 a  2.86     31.67 b  46.75 b     177.46  211.5
                           3          8.49  8.30       2.23 a  2.87     45.44 a  73.25 a     191.20  212.0

                           4          8.37  8.25       2.26 a  3.03     47.87 a  51.50 b     184.98  214.75
                           5          8.46  8.30       2.22 a  2.84     47.37 a  53.25 b     188.71  224.75

                         F-test        ns      ns        *       ns        *          *       ns       ns
                        CV (%)        2.57  1.03        5.09    5.01     19.86     18.58     15.55  16.13


                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT
                            ns  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
                            *  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


                                            จากผลการทดลองการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยง
                  สัตว์ในสภาพแปลงจากการปลูก 2 รอบ มีผลต่อสมบัติทางเคมีของดิน พบว่า มีผลต่อการสะสมอินทรียวัตถุใน
                  ดินเพิ่มสูงขึ้น คิดเป็น 16.0 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินมีค่าเพิ่มขึ้น คิดเป็น 83.75
                  เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนการทดลอง โดยตำรับการทดลองที่ 3 การใส่ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสม

                  เอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีผลให้การสะสมปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ใน
                  ดินเพิ่มสูงขึ้น คิดเป็น 39.36 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการใส่
                  ปัจจัยการทดลองมีการใส่ปุ๋ยเคมีที่เป็นแหล่งธาตุอาหารพืช อาจเกิดการสะสมในดิน และจากการสับกลบตอซัง

                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นการเพิ่มแหล่งธาตุอาหารจากพืช อีกทั้งเพิ่มอินทรียวัตถุใหม่ลงในดิน สอดคล้องกับ
                  รายงานของ Matsummoto et al. (2008) การสับกลบเศษซากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้มีคาร์บอนใส่กลับลง
                  ในดินเฉลี่ย 488.70 กิโลกรัมคาร์บอนต่อไร่ เป็นปัจจัยที่ทำให้อินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น จากคุณสมบัติของ
                  อินทรียวัตถุมีพื้นที่ผิวสัมผัสมาก มีประจุลบเป็นส่วนใหญ่ และมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก
                  (CEC) ได้สูงกว่าดินเหนียวชนิดอื่น ๆ อีกทั้งเศษพืชที่เกิดการย่อยสลายด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์จะเป็น

                  อินทรียวัตถุที่สลายตัวได้ดีแล้ว จะมีค่า CEC สูงถึง 300 เมกะกรัมต่อ 100 กรัมของฮิวมัส ซึ่งสูงกว่า CEC ของ
                  แร่ดินเหนียว ประมาณ 2 - 30 เท่า มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารประจุบวกมาจากประจุลบจำนวน
                  มากของอินทรียวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการ dissociation ของสารประกอบบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                  carboxylic group และ phenolic OH group (โสฬส, 2559) จึงมีความสำคัญมากในการป้องกันมิให้ธาตุ
                  อาหารพืชที่ใส่ลงไปในดินในรูปปุ๋ยเคมี หรือธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินตามธรรมชาติ ถูกดูดซับไว้ที่ผิว
                  อินทรียวัตถุ ทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหารไปกับกระบวนการชะล้าง โดยเฉพาะดินทราย หรือดินเนื้อหยาบ ซึ่ง
                  ทำให้ประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารของพืชเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น และเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี

                  (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541) อีกทั้งการฉีดพ่นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส หรือผลิตภัณฑ์
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76