Page 69 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 69

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          63








                  ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มธาตุอาหาร โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องการไนโตรเจน 10 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 5 กิโลกรัม
                  ต่อไร่ และโพแทสเซียม 5 กิโลกรัมต่อไร่ (กรมวิชาการเกษตร, 2548)
                                 1.2) สมบัติทางเคมีของดินหลังการทดลอง จากการปลูกรอบที่ 1
                                      จากการเก็บตัวอย่างดินในแปลงทดลองหลังเก็บผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำการ

                  วิเคราะห์สมบัติทางเคมีดิน และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 15 ดังนี้
                                      1.2.1) ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน พบว่า ความเป็นกรดเป็นด่างของดินหลังการ
                  ทดลอง มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างตำรับการทดลอง มีค่าระหว่าง 8.37- 8.49 เมื่อใช้หลักเกณฑ์ของ
                  สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน (2548) มาพิจารณาร่วมด้วย พบว่า ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

                  ภายหลังการทดลอง ดินเป็นด่างปานกลาง และมีค่าความเป็นด่างของดินลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนการ
                  ทดลองที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 8.60 ดินเป็นด่างจัด
                                      1.2.2) ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน พบว่า ตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ ตำรับ
                  การทดลองที่ 3 ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส และ

                  ตำรับการทดลองที่ 5 ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 มีค่าปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าสูงสุดไม่แตกต่างกัน
                  ทางสถิติ มีค่าระหว่าง 2.22 - 2.27 เปอร์เซ็นต์ แต่มีค่าสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
                  เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับควบคุม มีค่าต่ำสุด 1.97 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้หลักเกณฑ์ของสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการ

                  พัฒนาที่ดิน (2548) มาพิจารณาร่วมด้วย พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุในดินจัดอยู่ในระดับปานกลาง จากผลการ
                  ทดลองเห็นได้ว่า การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส ส่งผลต่อการ
                  สะสมปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูงกว่าการไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เนื่องจากการสับกลบตอซังพืช หรือเศษพืชที่
                  เหลือลงดิน เป็นการเพิ่มแหล่งอินทรีย์คาร์บอนเกิดการย่อยสลายเกิดเป็นอินทรียวัตถุในดินจากกิจกรรม
                  จุลินทรีย์ ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดินได้เร็วขึ้น และช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่งผลให้พืชสามารถดูด

                  ธาตุอาหารที่ได้จากการย่อยสลายเก็บสะสมได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มมวลชีวภาพของพืชในส่วนเหนือดินและในดิน
                  (Graham et al., 2002) อีกทั้งการสับกลบเศษพืชอย่างต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มแหล่งอินทรียวัตถุ และเพิ่มการ
                  สะสมอินทรียวัตถุในดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) สอดคล้องกับรายงานของปรีชา และคณะ (2562)

                  องค์ประกอบในเศษพืชจากข้าวโพดมีเซลลูโลสสูง มีเยื่อใย และมีแหล่งสารอินทรีย์ อีกทั้งการใส่จุลินทรีย์ร่วมใน
                  กระบวนการหมักช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายเซลลูโลสได้เพิ่มขึ้น ซึ่งยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และความชื้นใน
                  สภาพแวดล้อมนั้นด้วย ส่งผลต่อการสะสมของอินทรียวัตถุในดินโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์เป็นตัวการที่สำคัญ
                  ทำให้สารอินทรีย์จากซากพืชย่อยสลายแปรสภาพเป็นธาตุอาหารพืช และอินทรียวัตถุใหม่ คืนกลับให้กับดินได้

                  อีกครั้ง ทำให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชในดิน (วิสุทธิ์, ม.ป.ป.) และการสับกลบต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน
                  แปลง มีผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินที่ระดับความลึก 0 - 15 เซนติเมตร เกิดการทับถม และสะสมเซลล์
                  จุลินทรีย์อยู่บริเวณผิวดินบนมากกว่าดินล่างที่ระดับความลึก 15 -30 เซนติเมตร และยังส่งผลช่วยรักษา
                  โครงสร้างและคุณภาพดิน (สุนิสา, 2561)

                                      1.2.3) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ พบว่า ตำรับการทดลองที่ 3 ผลิตภัณฑ์
                  จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 5
                  ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่า
                  ระหว่าง 45.44 - 47.87 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับสูงมาก แต่มีค่าสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

                  ทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ และตำรับควบคุม มีค่า 31.67
                  และ 31.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ มีค่าเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนการทดลองที่มีปริมาณ
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74