Page 68 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 68

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          62








                  ซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกิดขึ้นได้รวดเร็วในช่วง 10 วันแรก เมื่อเปรียบเทียบกับการสลายตัวตามธรรมชาติ และ
                  สอดคล้องกับรายงานของปัทมา และคณะ (2556) จากการศึกษาการสลายตัวของสารอินทรีย์ต่าง ๆ สามารถ
                  แยกอัตราการสลายตัวออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก 1 - 4 สัปดาห์ และช่วงหลัง 8 - 52 สัปดาห์ โดย
                  สารอินทรีย์ทุกชนิดมีอัตราการสลายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงแรก เช่น ฟางข้าวมีอัตราการสลายตัวในช่วงสัปดาห์

                  ที่ 4 มีปริมาณน้ำหนักที่เหลืออยู่เท่ากับ 42.3 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนให้เห็นว่า ปริมาณของคาร์บอนในส่วนที่
                  สลายตัวง่ายถูกทำให้สลายตัว และนำไปใช้เพื่อดำเนินกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน หลังจากนั้นอัตราการย่อยสลาย
                  มีแนวโน้มลดลงในสัปดาห์ที่ 6 การย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์ในดิน เกิดจากกระบวนการของจุลินทรีย์ย่อย
                  สลายเซลลูโลส และจากรายงานของ Leash and Daynard (1973) พบว่า อัตราการย่อยสลายได้ของวัตถุแห้ง

                  ในตอซังข้าวโพด ส่วนของใบและก้าน มีอัตราลดลง 1.5 เปอร์เซ็นต์ต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อส่วนที่ย่อยสลาย
                  ได้ง่าย และส่วนของลำต้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อีกทั้งอัตราการย่อยสลายขึ้นอยู่กับความชื้นในแปลง
                  กระบวนการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์โครงสร้างทางเคมีของวัสดุอินทรีย์ สารประกอบโมเลกุลเล็ก เช่น แป้งและ
                  น้ำตาล จะถูกย่อยง่ายกว่าสารประกอบโมเลกุลใหญ่ เช่น เฮมิเซลลูโลสและเซลลูโลส และมีโครงสร้างซับซ้อน

                  เช่น ลิกนิน และไคติน (Cummins, 1970) และสอดคล้องกับรายงานของ Thomas and Asakawa (1993)
                  เศษพืชมีอัตราการสลายตัวในช่วงที่สอง (k2) ช้า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงแรก (k1) เกิดจากอิทธิพลของ
                  องค์ประกอบทางเคมีของสารอินทรีย์ ได้แก่ ปริมาณลิกนินและโพลีฟีนอล เป็นปัจจัยที่จำกัด และมีบทบาทต่อ

                  อัตราการย่อยสลายของสารอินทรีย์ (Muller et al., 1988; ปัทมา และคณะ, 2556) เมื่อพิจารณาในตำรับการ
                  ทดลองที่มีการใช้น้ำหมักชีวภาพ พบว่า มีอัตราการย่อยสลายของตอซังข้าวโพดต่ำกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์
                  จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส แต่มีอัตราการสลายตัวสูงกว่าอัตราการสลายตัวตามธรรมชาติ ทั้งนี้อาจ
                  เนื่องจากน้ำหมักชีวภาพจากปลา มีทั้งแบคทีเรียและยีสต์ ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายและแปรสภาพวัสดุ
                  อินทรีย์ แต่มีปริมาณที่น้อยกว่าปุ๋ยหมัก โดยน้ำหมักชีวภาพจากปลามีแบคทีเรียทั้งหมด 3.35 - 3.68 log เซลล์

                  ต่อมิลลิลิตร แบคทีเรียแปรสภาพฟอสฟอรัส 3.02 - 3.51 log เซลล์ต่อมิลลิลิตร และยีสต์ 2.15 - 3.76 log
                  เซลล์ต่อมิลลิลิตร และมีกรดฮิวมิกร้อยละ 0.02 - 0.59 เพราะว่าเนื้อปลาจะประกอบด้วยโปรตีนที่เป็น
                  ประโยชน์สำหรับจุลินทรีย์และระบบนิเวศดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2543) จึงมีผลต่อกระบวนการย่อยสลายเศษ

                  พืชในดิน

                  5.4 ผลการศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสมบัติดิน การ
                  เจริญเติบโต และผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                        5.4.1 ผลการศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสมบัติดิน
                               1) การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน

                                 1.1) สมบัติทางเคมีของดินก่อนการทดลอง
                                     จากการเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองที่ระดับความลึก 0 - 15 เซนติเมตร โดยสุ่ม
                  จำนวน 15 จุด และนำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันให้เป็น 1 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์สมบัติของดิน (ตารางที่ 15)
                  พบว่า ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 8.60 ดินเป็นด่างจัด ปริมาณอินทรียวัตถุ 2.50 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับ

                  ปานกลาง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับปานกลาง และปริมาณ
                  โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 120 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับสูง (สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนา
                  ที่ดิน, 2548) ซึ่งการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำเป็นต้องใช้ทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุรอง และการใช้
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73