Page 67 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 67

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          61








                  ต่อเนื่องไม่แตกต่างกันทางสถิติมีค่าระหว่าง 3.37 - 3.74  3.28 - 3.79 และ 2.89 - 3.12 ไมโครกรัมของ
                  กลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง ตามลำดับ

                  ตารางที่ 14  ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสตามช่วงระยะเวลาการย่อยสลายของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน

                             สภาพแปลงจากการปลูกรอบที่ 2

                                                                                                   -1
                                                                                            -1
                                                          กิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส (µg glucose g  soil h )
                            ตำรับการทดลอง
                                                      10 วัน    20 วัน    30 วัน  40 วัน  50 วัน  60 วัน
                   1 = ควบคุม                        2.48 b    3.27 c    3.16 c  3.38      3.28     2.89
                   2 = น้ำหมักชีวภาพ                 2.78 ab  3.64 b     3.36 bc  3.61     3.61     3.08

                   3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์  3.25 a   4.05 a    4.14 a    3.68    3.43     3.09
                       เซลลูเลส
                   4 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส      2.76 ab  3.65 b     3.84 ab  3.74     3.66     3.12

                   5 = ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.1   2.45 b   3.63 b   3.48 bc  3.37     3.79     3.12
                                F-test                   *        **        *        ns      ns       ns

                                CV (%)                 11.89     4.57     11.22     11.88    6.79    5.51

                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT
                            ns  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

                            *  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                            **  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ

                                 เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส และผลิตภัณฑ์

                  เอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำต่อการสลายตัวของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากผลการทดลองในสภาพ
                  แปลงทั้ง 2 รอบการปลูก พบว่า จากการปลูกรอบที่ 2 สามารถนำเอาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ double
                  pool model มาใช้ทำนายอัตราการสลายตัวของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลง โดยการใช้ผลิตภัณฑ์

                  จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่าอัตราการสลายตัวในช่วงแรก (k1) 10
                  - 20 วัน เกิดขึ้นเร็วสุด 0.605 ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 วัน มีปริมาณน้ำหนักแห้งของเศษพืชที่หายไป
                  มากถึง 44.62 เปอร์เซ็นต์ และมีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดินสูงสุดต่อเนื่องจนถึง 30 วัน และในช่วงหลัง
                  (k2) 30 - 50 วัน มีอัตราการย่อยสลายช้าลง ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสมี
                  องค์ประกอบของเชื้อราเริ่มต้นสูง 15.528 log เซลล์ต่อกรัม และเอนไซม์เซลลูเลส 0.250 ยูนิตต่อมิลลิลิตร

                  สอดคล้องกับรายงานของ Martinez-Viveros et al. (2010) ผงเชื้อสำหรับใส่ลงดินควรมีปริมาณเชื้ออยู่ที่ 8.0
                  - 9.0 log เซลล์ต่อกรัม และจากรายงานปรีชา และคณะ (2562) พบว่า ปริมาณเชื้อแบคทีเรีย 8.0 log เซลล์ต่อ

                  กรัม ในผลิตภัณฑ์ย่อยสลายเซลลูโลส มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายซังข้าวโพดและผักตบชวาได้ดี และจาก

                  รายงานของธงชัย (2550) จุลินทรีย์ในดินที่มีบทบาทในการย่อยสลายเศษพืชประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 กลุ่ม
                  คือ แบคทีเรีย รา และแอคติโนมัยซีส จุลินทรีย์เหล่านี้จะขับเอนไซม์เซลลูเลสออกมาย่อยสลายเศษพืชได้สาร
                  ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเห็นได้ว่า การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสช่วยเร่งอัตราการสลายตัวของตอ
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72