Page 66 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 66

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          60








                  ตารางที่ 13 ปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดินตามช่วงระยะเวลาการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน
                             สภาพแปลงจากการปลูกรอบที่ 2


                                                                   ปริมาณเชื้อรา (log เซลล์ต่อกรัม)
                            ตำรับการทดลอง
                                                    10 วัน    20 วัน    30 วัน    40 วัน    50 วัน  60 วัน

                    1 = ควบคุม                      5.344 b  5.366 b  5.778 b  4.529 c  4.622   4.676

                    2 = น้ำหมักชีวภาพ               6.248 a  6.645 a  6.785 a  5.069 bc  5.449   4.767

                    3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสม
                        เอนไซม์เซลลูเลส             6.426 a  6.766 a  6.881 a  5.325 ab  5.535   4.750

                    4 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส    6.346 a  6.775 a  6.109 b  5.905 a  4.623   4.693
                    5 = ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1  6.107 a  6.340 a  6.092 b  5.841 a  5.358   4.812

                                 F-test              **        **        *         **        ns      ns

                                CV (%)              5.20      4.80      6.76      7.44      10.54  6.95


                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT
                             ns  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

                            *  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                           ** แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ

                                 4)  ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดิน

                                      จากการวิเคราะห์ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดิน (ตารางที่ 14) พบว่า ตำรับการ
                  ทดลองที่ 3 การใส่ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีผลให้ค่า
                  กิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในช่วงระยะเวลาการย่อยสลายของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลงที่ 10 วัน

                  มีค่าสูงสุด 3.25 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับตำรับการทดลอง
                  ที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ และตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติมีค่า
                  2.78 และ 2.76 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง ตามลำดับ แต่มีค่าสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมี
                  นัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองที่ 5 ผลิตภัณฑ์ชีวภาพสารเร่งซุปเปอร์ พด.
                  1 อัตรา 1 และตำรับควบคุมมีค่าต่ำสุด 2.45 และ 2.48 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง

                  ตามลำดับ และตำรับการทดลองที่ 3 ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสมีค่าเพิ่มขึ้นที่ 20 วัน มีค่า 4.05
                  ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง มีค่าสูงสุดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01)
                  เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองอื่น ๆ มีค่าระหว่าง 3.63 - 3.65 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อ

                  ชั่วโมง และมีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสสูงสุดต่อเนื่องถึง 30 วัน มีค่า 4.14 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1
                  กรัมต่อชั่วโมง มีค่าสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการ
                  ทดลองที่ 2 ตำรับการทดลองที่ 5 และตำรับควบคุมที่มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่าง 3.16 - 3.84

                  ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง ภายหลังการย่อยสลาย 40  50 และ 60 วัน มีค่าลดลงอย่าง
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71