Page 64 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 64

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          58








                  มีค่าสูงกว่าในช่วงที่ 2 ค่าอัตราการสลายตัว (k2) ที่มีอัตราการสลายลดลง 0.0180 ที่ระยะเวลา 30 – 50 วัน
                  รองลงมาคือ ตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ ในช่วงแรกมีค่าอัตราการสลายตัว (k1) 0.2301 เกิดขึ้นเร็ว
                  กว่าช่วงที่ 2 ค่าอัตราการสลายตัว (k2) มีอัตราการสลายลดลง 0.0211 ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์
                  เซลลูเลสอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ในช่วงแรกค่าอัตราการสลายตัว (k1) 0.1110 เกิดขึ้นเร็วกว่าช่วง

                  ที่ 2 ค่าอัตราการสลายตัว (k2) มีอัตราการสลายลดลง 0.0150 และตำรับการทดลองที่ 5 ผลิตภัณฑ์ชีวภาพสาร
                  เร่งซุปเปอร์ พด. 1 ในช่วงแรกค่าอัตราการสลายตัว (k1) 0.0886 เกิดขึ้นเร็วกว่าช่วงที่ 2 ค่าอัตราการสลายตัว
                  (k2) มีอัตราการสลายลดลง 0.0128 ซึ่งจากภาพที่ 18 จะเห็นได้ว่า ตำรับควบคุมมีค่าอัตราการสลายตัวเป็น
                  แบบต่อเนื่อง และไม่สามารถแบ่งช่วงการสลายตัวของสารอินทรีย์ด้วยการใช้แบบจำลองการสลายตัวด้วย

                  double pool model ซึ่งยังคงเป็นรูปแบบการสลายตัวของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เช่นเดียวกับการปลูกรอบที่ 1
                                 3)  ปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดิน
                                      จากการเก็บตัวอย่างดินบริเวณพื้นที่แปลงทดลอง เพื่อวิเคราะห์ปริมาณเชื้อราย่อย
                  เซลลูโลสในดิน (ตารางที่ 13) พบว่า ช่วงแรกของการย่อยสลาย 10 - 20 วัน มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง

                  ทางสถิติ (p < 0.01) โดยตำรับการทดลองที่ 3 การใส่ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100 กรัม
                  ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 วัน มีปริมาณเชื้อสูงสุด 6.426 log เซลล์ต่อกรัม และที่
                  ระยะเวลาการย่อยสลาย 20 วัน มีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 6.766 log เซลล์ต่อกรัม แต่มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับ

                  ตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูโลส และตำรับการทดลอง
                  ที่ 5 ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 และ 20 วัน มีปริมาณเชื้อระหว่าง 6.107
                  - 6.426 และ 6.340 - 6.775log เซลล์ต่อกรัม ตามลำดับ แต่ทุกตำรับการทดลองข้างต้น มีค่าสูงกว่าตำรับ
                  ควบคุมที่มีค่าต่ำสุด และช่วงการย่อยสลาย 30 วัน มีแนวโน้มปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดินเพิ่มขึ้นสูงสุด
                  พบว่า ตำรับการทดลองที่ 3 การใส่ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อ

                  ไร่ มีปริมาณเชื้อสูงสุด 6.881 log เซลล์ต่อกรัม ซึ่งมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมัก
                  ชีวภาพ มีปริมาณเชื้อ 6.785 log เซลล์ต่อกรัม แต่มีค่าสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
                  เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูโลส ตำรับการทดลองที่ 5 ผลิตภัณฑ์สารเร่ง

                  ซุปเปอร์ พด. 1 และตำรับควบคุมที่มีค่าต่ำสุด มีค่าระหว่าง 5.778 - 6.109 log เซลล์ต่อกรัม เมื่อระยะเวลา
                  การย่อยสลายเพิ่มขึ้นเป็น 40 วัน ปริมาณเชื้อเริ่มลดลงมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01)
                  พบว่า ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส มีปริมาณเชื้อสูงสุด 5.905 log เซลล์ต่อกรัม มีค่าไม่
                  แตกต่างกันทางสถิติกับตำรับการทดลองที่ 3 และตำรับการทดลองที่ 5 มีค่า 5.325 และ 5.841 log เซลล์ต่อ

                  กรัม ตามลำดับ แต่ยังคงพบว่า การใส่ผลิตภัณฑ์เร่งการย่อยสลายตอซังทุกชนิดมีค่าสูงกว่าตำรับควบคุมที่มี
                  ปริมาณเชื้อในดินต่ำสุด และในช่วงการย่อยสลาย 50 และ 60 วัน ปริมาณเชื้อลดลงต่อเนื่อง มีค่าไม่แตกต่าง
                  กันทางสถิติ มีปริมาณเชื้อระหว่าง 4.622 - 5.535 และ 4.677 - 4.812 log เซลล์ต่อกรัม ตามลำดับ แต่
                  อย่างไรก็ตาม การใส่ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส หรือผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส หรือผลิตภัณฑ์

                  สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 หรือน้ำหมักชีวภาพ มีผลให้ปริมาณราย่อยเซลลูโลสในดินเพิ่มขึ้นสูงกว่าตำรับควบคุม
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69