Page 63 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 63

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          57








                  ช่วงการย่อยสลาย 60 วัน แสดงให้เห็นได้ว่า ตำรับการทดลองที่ 3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลู
                  เลส อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีผลทำให้เกิดการสลายตัวของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้เร็ว โดยใช้
                  ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 วัน มีปริมาณน้ำหนักแห้งของเศษพืชที่หายไปมีค่ามากที่สุด 44.62 เปอร์เซ็นต์ มี
                  แนวโน้มปริมาณน้ำหนักแห้งของเศษพืชที่หายไปสูงกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ มีค่าระหว่าง 31.71 - 37.32

                  เปอร์เซ็นต์ และยังคงมีค่าสูงกว่าตำรับควบคุมที่มีปริมาณน้ำหนักแห้งของเศษพืชที่หายไปเพียง 21.40
                  เปอร์เซ็นต์

                  ตารางที่ 12 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืชตามช่วงระยะเวลาการย่อยสลายตอซัง

                            ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลงจากการปลูกรอบที่ 2

                                                         น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช (เปอร์เซ็นต์)
                           ตำรับการทดลอง
                                                    10 วัน    20 วัน    30 วัน    40 วัน    50 วัน    60 วัน

                   1 = ควบคุม                       78.60 a  66.33 a  54.03 a  42.08 a  36.14 a  6.89 a
                   2 = น้ำหมักชีวภาพ                62.68 bc  47.28 b  39.73 b  34.26 bc  24.93 b   3.90 bc

                   3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์ 55.38 c  42.79 b  41.08 b  36.79 b  25.98 b   3.64 c
                       เซลลูเลส
                   4 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส     64.96 bc  48.29 b  40.41 b  31.56 c  29.78 b   4.68 b

                   5 = ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.1  68.71 ab  44.66 b  39.90 b  36.33 b  28.57 b   4.66 b
                                F-test                 **        **        **        *         *         **

                               CV (%)                 9.74      8.77     11.34      8.37     16.59     12.42

                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT
                            *  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

                            **  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ

                                 2)  อัตราการสลายตัวของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                                      จากผลการศึกษาอัตราการสลายตัวของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ภาพที่ 18) จากการ
                  ประเมินด้วยสมการ Olson (1963) พบว่า ตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ มีค่าอัตรา
                  การสลายตัว (k) สูงสุด 0.0287 ใกล้เคียงกับตำรับการทดลองที่ 3 ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส
                  อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ค่าอัตราการสลายตัว (k) 0.0282 ขณะที่ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์
                  เอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ และตำรับการทดลองที่ 5 ผลิตภัณฑ์ชีวภาพสารเร่ง

                  ซุปเปอร์ พด. 1 ค่าอัตราการสลายตัว (k) เท่ากัน คือ 0.0270 ขณะที่ตำรับควบคุม ค่าอัตราการสลายตัว (k)
                  ต่ำสุด 0.0197 และเมื่อนำเอาแบบจำลองแบ่งการสลายตัวขององค์ประกอบทางเคมีของสารอินทรีย์ด้วย
                  สมการ double pool model มาใช้ทำนายอัตราการสลายตัวของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลง

                  พบว่า ค่าอัตราการสลายตัวของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกรอบที่ 2 สามารถแบ่งการสลายตัว
                  ออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 พบว่า ตำรับการทดลองที่ 3 ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100
                  กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ในช่วงแรกมีค่าอัตราการสลายตัว (k1) เกิดขึ้นเร็วสุด 0.605 ที่ระยะ 10 - 20 วัน
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68