Page 62 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 62

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          56








                  ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส ส่งผลต่อการย่อยสลายตอซังข้าวโพด
                  เลี้ยงสัตว์ได้ดีที่ 20 วัน ย่อยสลายได้ถึง 36.94 - 43.24 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้งเศษพืช สอดคล้องกับค่า
                  วิเคราะห์ปริมาณเชื้อราในดิน และค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดินที่มีค่าสูงในช่วง 10 - 30 วัน และมีค่า
                  ลดลงที่ 40 วัน ทั้งนี้เนื่องจากการเติมเชื้อราและเอนไซม์เซลลูเลส ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมจุลินทรีย์

                  ในกระบวนการย่อยสลายเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของซากพืชได้ดี (Deacon,
                  1980) สอดคล้องกับรายงานของ Tchobanoglous et al. (1993) พบว่า การเติมเชื้อในการหมักวัสดุจะช่วยลด
                  ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยาการย่อยสลาย และช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายได้เร็วขึ้น และสอดคล้องกับรายงานของ
                  Tian et al. (1992); Kaewpredit et al. (2008) พบว่า ซากพืชที่มีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ำ เช่น

                  ฟางข้าว (C/N = 78) หรือต้นและใบข้าวโพด (C/N = 62) จะเกิดกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยกิจกรรม
                  จุลินทรีย์ เกิดการเปลี่ยนแปลงย่อยสลายสารอินทรีย์หมุนเวียนธาตุของกระบวนการ N immobilization ซึ่งใน
                  ช่วงแรกของการย่อยสลายเกิดขึ้นเร็ว 1 - 2 สัปดาห์ และหลังจากนั้นกระบวนการ N immobilization เกิดขึ้น
                  ในระดับต่ำ และสอดคล้องกับรายงานของปรีชา และคณะ (2562) จากการศึกษาอัตราการย่อยสลายของซัง

                  ข้าวโพดและผักตบชวา ด้วยวิธี litter bag method จากการหมักวัสดุที่ใช้ผงเชื้อผสมแบคทีเรียย่อยสลาย
                  เซลลูโลส มีอัตราการย่อยสลายสูงสุดในสัปดาห์ที่ 2 โดยมีอัตราการย่อยสลายสูงสุดเท่ากับ 27.22 มิลลิกรัมต่อ
                  วัน และมีค่าอัตราการสลายของวัสดุหมักสูงกว่าการไม่ใส่เชื้อ

                         5.3.2 ผลการศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังต่อการย่อยสลายตอซัง
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในถุงตาข่ายทดลองสภาพแปลงทดลอง จากการปลูกรอบที่ 2 มีรายละเอียดดังนี้

                               1) เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช
                                 จากการเก็บตัวอย่างน้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในถุงตาข่ายทดลอง
                  จากการปลูกรอบที่ 2 เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช (ตารางที่

                  12) พบว่า ในช่วงแรกของการย่อยสลาย 10 และ 20 วัน ตำรับการทดลองที่ 3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสม
                  เอนไซม์เซลลูเลส อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืชต่ำสุด
                  55.38 และ 42.79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีค่าต่ำกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01)
                  ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองที่ 5 การใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์

                  พด. 1 อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ และตำรับควบคุมที่มีค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษ
                  พืชสูงสุด 68.71 และ 78.60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และระยะเวลาการย่อยสลาย 20 วัน ตำรับควบคุมยังคงมี
                  ค่าสูงสุด 66.33 เปอร์เซ็นต์ และยังพบว่า ตำรับการทดลองที่ 2 การใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตรา 5 ลิตรต่อน้ำ 50
                  ลิตรต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 4 การใช้

                  ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส และตำรับการทดลองที่ 5 การใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 อัตรา 100 กรัม
                  ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืชลดลงต่ำสุดอย่างเนื่องไม่แตกต่างกันทาง
                  สถิติ ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 30  40 และ 50 วัน มีค่าระหว่าง 39.73 - 41.08  34.26 - 36.79 และ 24.93
                  - 29.78 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่ยังคงพบว่า ตำรับควบคุมมีค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช

                  สูงสุดอย่างนัยสำคัญทางสถิติ และในช่วงระยะเวลาการย่อยสลายเพิ่มขึ้นเป็น 60 วัน พบว่า ค่าเปอร์เซ็นต์
                  น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืชลดลงอย่างรวดเร็ว โดยตำรับการทดลองที่ 3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสม
                  เอนไซม์เซลลูเลส อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ยังคงมีค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช
                  ต่ำสุด 3.64 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ตำรับควบคุมยังคงมีค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืชสูงสุดตลอด
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67