Page 61 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 61

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          55








                                 4)  ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดิน
                                      จากการวิเคราะห์ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดิน (ตารางที่ 11) พบว่า ช่วง
                  ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 วัน ตำรับการทดลองที่ 3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส อัตรา
                  100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีผลให้ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดินสูงสุด 3.56 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อ

                  ดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพชนิดอื่น ๆ มีค่าระหว่าง 3.29 -
                  3.42 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง และมีค่าเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 20 วัน มี
                  ค่า 4.13 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง มีค่าสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ
                  (p < 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองที่ 2 การใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตรา 5 ลิตรต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่

                  ตำรับการทดลองที่ 4 การใช้ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส และตำรับการทดลองที่ 5 การใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่ง
                  ซุปเปอร์ พด. 1 อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่าง 3.57 - 3.69
                  ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง ขณะที่ตำรับควบคุมยังคงมีค่าต่ำสุด และช่วงระยะเวลาการย่อย
                  สลาย 30 และ 40 วัน ทุกตำรับการทดลองมีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดินไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่า

                  ระหว่าง 3.02 - 3.60 และ 2.93 - 3.36 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง ตามลำดับ และมีค่า
                  ลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึง 60 วัน ทุกตำรับการทดลองมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่าง 0.59 - 0.72
                  ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง


                  ตารางที่ 11  ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสตามช่วงระยะเวลาการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพ
                             แปลงทดลองจากการปลูกรอบที่ 1

                                                           กิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส (µg glucose g  soil h )
                                                                                             -1
                                                                                                    -1
                            ตำรับการทดลอง
                                                      10 วัน  20 วัน  30 วัน     40 วัน    50 วัน    60 วัน
                   1 = ควบคุม                         2.93 b  3.09 c  3.02        2.93    2.23 a     0.63

                   2 = น้ำหมักชีวภาพ                  3.29 ab  3.57 b  3.13       3.09    1.59 b     0.65
                   3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์  3.56 a  4.13 a  3.60        3.09    1.68 b     0.66
                       เซลลูเลส

                   4 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส       3.42 a  3.68 b  3.32        3.36    2.05 a     0.72
                   5 = ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.1   3.29 ab  3.69 b  3.37      3.15    1.43 b     0.59

                                F-test                  *         **      ns      ns        **        ns
                                CV (%)                 7.37      6.64    9.22    7.43      10.63    22.83

                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT

                            ns  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
                            *  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                            **  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ


                                 จากผลการศึกษาการสลายตัวของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในถุงตาข่ายทดลองด้วยเทคนิคถุง
                  ตาข่าย (litter bag technique) ที่มีขนาดรูเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร จากการปลูกรอบที่ 1 พบว่า การใช้
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66