Page 56 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 56

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          50








                  ส่งเสริมการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้สูง เมื่อพิจารณาจากค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสที่วิเคราะห์ได้
                  จากตัวอย่างดิน มีค่าสูงกว่าคิดเป็น 80.47 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างดินที่มาจากการใช้ผลิตภัณฑ์
                  เอนไซม์เซลลูเลส ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพความสามารถในการสร้างเอนไซม์ของเชื้อรา Corynascus
                  verrucosus 23 และประสิทธิภาพเอนไซม์เซลลูเลสในผลิตภัณฑ์ ภายหลังการหมักย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยง

                  สัตว์ โดยใช้เวลาหมัก 10 วัน สอดคล้องกับรายงานของ Deshpande et al. (2008) ศึกษาความสามารถในการ
                  สร้างเอนไซม์เซลลูเลสของเชื้อรา เช่น Trichoderma reesei  Aspergillus niger และเชื้อผสม โดยใช้วิธีการหมัก
                  แห้งการหมักแบบ Solid - State Fermentation (SSF) โดยใช้ขี้เลื่อยและผักตบชวาเป็นแหล่งคาร์บอน พบว่า
                  การเลี้ยงเชื้อ Trichoderma reesei แบบเดี่ยว มีค่ากิจกรรมเอนไซม์สูงกว่า โดยใช้เวลาหมัก 10 วัน จะสร้าง

                  เอนไซม์ได้สูงสุด และเมื่อเกิดกระบวนการหมักมีการสร้างเอนไซม์ได้เพิ่มขึ้น 2 - 3 เท่า ขณะที่กรรมวิธีการใช้
                  น้ำหมักปลาอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ ตรวจพบปริมาณเอนไซม์เซลลูเลสมีค่าสูงกว่าการไม่ใส่ผลิตภัณฑ์ แต่มีค่า
                  กิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสน้อยกว่าการใส่ผลิตภัณฑ์แบบผงละลายน้ำ ทั้งนี้จากรายงานของชนากานต์ และคณะ
                  (2565) พบว่า การหมักฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพ 1 : 10 ทำให้มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟางข้าวเฉลี่ย

                  สูงสุด เท่ากับ 20.95 เปอร์เซ็นต์ โดยคุณสมบัติของน้ำหมักปลามีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส อินทรียวัตถุ
                  และค่าการนำไฟฟ้าสูงที่สุด ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์กลุ่มต่าง ๆ อีก
                  ทั้ง ในน้ำหมักชีวภาพมี Bacillus sp. และ Lactobacillus sp. ทำหน้าที่ในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลส ทำหน้าที่

                  ย่อยสลายเซลลูโลส เอนไซม์โปรติเอส (protease) ทำหน้าที่ย่อยโปรตีน และเอนไซม์ฟอสฟาเทส ทำหน้าที่
                  ปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัสที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้เป็นประโยชน์ต่อพืช (โสฬส, 2559) และจากงานวิจัยของ
                  วีณารัตน์ (2553) พบว่า การหมักฟางข้าวด้วยน้ำหมักชีวภาพจากปลา ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลาย
                  เซลลูโลสเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟางข้าวมากตามไปด้วย และสอดคล้องกับผล
                  การศึกษาของนวลจันทร์ (2557) พบว่า การหมักฟางข้าวด้วยน้ำหมักชีวภาพปลา มีผลทำให้มีปริมาณ

                  แบคทีเรียและปริมาณแอคติโนมัยซีทย่อยสลายเซลลูโลสเพิ่มขึ้น ตามระยะเวลาของการหมัก และส่งผลต่อการ
                  ย่อยสลายฟางข้าวที่เพิ่มขึ้น
                                 เมื่อพิจารณาจากผลการศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเล

                  สแบบผงละลายน้ำ และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำในอัตราที่แตกต่างกันต่อการย่อยสลายตอ
                  ซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในดินสภาพโรงเรือนกระจก จึงคัดเลือกวิธีการและอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์
                  จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100
                  กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ หมักย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 10 วัน ก่อนปลูก เป็นวิธีการที่เหมาะสมใน

                  การนำไปใช้ศึกษาผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสมบัติดิน การ
                  เจริญเติบโต และผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลงทดลองต่อไป
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61