Page 57 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          51








                  5.3  ผลการศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังต่อการย่อยสลายของตอซัง
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในถุงตาข่ายทดลองสภาพแปลงทดลอง จาก 2 รอบการปลูก
                        5.3.1  ผลการศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังแบบผงละลายน้ำต่อการ
                  ย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในถุงตาข่ายทดลองสภาพแปลงทดลอง จากการปลูกรอบที่ 1

                  มีรายละเอียดดังนี้
                               1) ค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช
                                 จากการเก็บตัวอย่างน้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในถุงตาข่ายทดลอง
                  เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช (ตารางที่ 9) พบว่า ในช่วง

                  ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 วัน ทุกตำรับการทดลองมีค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืชไม่
                  แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่าง 70.29 - 83.40 เปอร์เซ็นต์ แต่พบว่า ในช่วงระยะเวลาการย่อยสลาย 20
                  ตำรับการทดลองที่ 2 การใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตรา 5 ลิตรต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 3 การใช้
                  ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 4 การใช้ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส และตำรับ

                  การทดลองที่ 5 การใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่าเปอร์เซ็นต์
                  น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืชต่ำสุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่าง 56.76 - 63.06 เปอร์เซ็นต์ แต่มี
                  ค่าต่ำกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับควบคุมมีค่าเปอร์เซ็นต์

                  น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืชสูงสุด 70.75 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่า การใช้ผลิตภัณฑ์เร่งการย่อยตอซัง
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลต่อการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้เร็วขึ้น คิดเป็นค่าเฉลี่ยน้ำหนักแห้งของเศษ
                  พืชที่หายไป 39.77 เปอร์เซ็นต์ มีค่ามากกว่าตำรับควบคุมที่มีค่า 29.25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อระยะเวลาการย่อย
                  สลายเพิ่มขึ้นเป็น 30 วัน พบว่า ตำรับการทดลองที่ 4 การใช้ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส และตำรับการทดลอง
                  ที่ 5 การใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่

                  เหลืออยู่ของเศษพืชต่ำสุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่า 49.95 และ 47.83 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่มีค่าต่ำกว่า
                  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองอื่น ๆ ที่มีค่าไม่
                  แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่าง 56.89 - 61.43 เปอร์เซ็นต์ เมื่อระยะเวลาการย่อยสลายเพิ่มขึ้นเป็น 40 วัน

                  พบว่า ค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืชลดลงอย่างรวดเร็ว โดยตำรับการทดลองที่ 2 การใช้
                  น้ำหมักชีวภาพ อัตรา 5 ลิตรต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์
                  เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 4 การใช้ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส และตำรับการทดลองที่ 5 การใช้ผลิตภัณฑ์
                  สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช

                  ต่ำสุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่าง 10.03 - 13.88 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังคงค่าต่ำกว่าแตกต่างกันอย่างมี
                  นัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบตำรับควบคุมมีค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช
                  สูงสุด 20.71 เปอร์เซ็นต์ และในช่วงระยะเวลาการย่อยสลาย 50 - 60 วัน มีแนวโน้มการลดลงของค่า
                  เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืชค่อนข้างคงที่ โดยตำรับการทดลองที่ 3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์

                  ผสมเอนไซม์เซลลูเลส อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืชที่
                  ระยะเวลาการย่อยสลาย 50 และ 60 วัน มีค่าต่ำสุด 4.43 และ 3.13 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62