Page 54 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          48








                         5.2.4  ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดินตามช่วงเวลาการย่อยสลายของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                               จากการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดิน ที่มีการใส่ผลิตภัณฑ์
                  จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส ในอัตราต่าง ๆ ต่อการย่อยสลายตอซังข้าวโพด
                  เลี้ยงสัตว์สภาพโรงเรือนกระจก ตลอดระยะเวลาการย่อยสลาย 50 วัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของค่า

                  กิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดิน ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 10  20  30 และ 40 วัน พบว่า มีค่าแตกต่างกัน
                  อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01) (ตารางที่ 8) ในช่วงระยะเวลาการย่อยสลายที่ 10 วัน ตำรับการทดลอง
                  ที่ 5 ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลู
                  เลสในดินสูงสุด 3.05 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับตำรับการ

                  ทดลองที่ 7 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดิน
                  2.60 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง แต่มีค่าสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบตำรับการทดลองอื่น ๆ เมื่อ
                  ระยะเวลาการย่อยสลายที่ 20 วัน พบว่า ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสอัตรา
                  50 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดินเพิ่มขึ้นสูงสุด 3.59 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อ

                  ดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง และมีค่าสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การใส่
                  ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส ในอัตราต่าง ๆ มีผลให้ค่ากิจกรรม
                  เอนไซม์เซลลูเลสในดิน ในช่วงระยะเวลาการย่อยสลาย 10 - 20 วัน มีค่าสูงกว่าตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมัก

                  ชีวภาพ และตำรับควบคุมที่มีค่าต่ำสุด เมื่อระยะเวลาการย่อยสลายที่ 30 วัน พบว่า ตำรับการทดลองที่ 2 น้ำ
                  หมักชีวภาพ มีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดินเพิ่มขึ้นสูงสุด 3.89 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อ
                  ชั่วโมง มีค่าสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองอื่น ๆ เมื่อ
                  ระยะเวลาการย่อยสลายเพิ่มขึ้นเป็น 40 วัน ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
                  จนถึง 50 วัน พบว่า การใส่ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส หรือผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส หรือน้ำ

                  หมักชีวภาพ มีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดินสูงสุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 40
                  และ 50 วัน มีค่าระหว่าง 1.74 - 2.27 และ 1.20 - 1.34 ไมโครกรัมของกลูโคสต่อดิน 1 กรัมต่อชั่วโมง
                  ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม การใส่ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส

                  ในอัตราต่าง ๆ ยังคงมีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในดินสูงกว่าแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ
                  (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับควบคุมการไม่ใส่ผลิตภัณฑ์
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59