Page 35 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
29
ที่มีคาร์บอกซิลเมททิลเซลลูโลสเป็นแหล่งคาร์บอน ตามวิธีการของ Murao et al. (1979) ราย่อยเซลลูโลส
นับปริมาณใน MC medium ที่เติมสเตรปโตมายซิน บ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 วัน นับปริมาณจุลินทรีย์ที่ขึ้น
ในอาหารเลี้ยงเชื้อ
4.4) การวิเคราะห์กิจกรรมเอนไซม์
การวิเคราะห์กิจกรรมเซลลูเลสจากตัวอย่างดิน โดยวิเคราะห์ตามวิธีการของ
Hope and Burn (1987) และวัดกลูโคสด้วยวิธี Nelson and Somogyi (Nelson, 1944) มีขั้นตอน ดังนี้
(1) นำตัวอย่างดินที่มีความชื้น และผ่านการร่อนด้วยตะแกรงขนาด 2 มิลลิเมตร
ปริมาณ 1 กรัม ใส่หลอดทดลอง เติม acetate buffer ปริมาตร 5 มิลลิลิตร และ avicel 0.5 กรัม เขย่าเบา ๆ
ให้เข้ากันปิดจุกแล้วนำไปบ่มที่ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 16 ชั่วโมง นำไปปั่นเหวี่ยงที่ความเร็ว 4,000 รอบ
ต่อนาที เป็นเวลา 10 นาที
(2) ดูดส่วนใส 1 มิลลิลิตร ใส่หลอดทดลองใหม่เติม Somogyi reagent ปริมาตร
1 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากันโดยใช้เครื่องผสมสาร นำไปต้มในน้ำเดือด 10 นาที แล้วทำให้เย็นทันที
(3) จากนั้นเติม Nelson reagent ปริมาตร 1 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้
ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 20 นาที แล้วเติมน้ำกลั่น 5 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากันนำไปวัดค่าด้วยเครื่องสเปกโตร
โฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) ที่ความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร เปรียบเทียบกราฟมาตรฐานของ
สารละลายกลูโคส วิเคราะห์ด้วยวิธี Nelson - Somogyi
(4) นำค่าที่ได้ไปคำนวณหากิจกรรมเซลลูเลส ดังสมการ
กิจกรรมเซลลูเลส (µg glucose g soil h ) = (C x V) /16S
-1
-1
C = ความเข้มข้นที่วัดได้
V = ปริมาตรของสารละลาย (5.5 มิลลิลิตร)
S = น้ำหนักแห้งของดินที่มีความชื้น 1 กรัม
16 = ระยะเวลาบ่มที่ 16 ชั่วโมง
(5) การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ วิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (analysis of variance)
และเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลโดยใช้วิธี Duncan’s New Multiple Range Test
4.2.3 การศึกษาผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสมบัติดิน
การเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลงทดลอง
การศึกษาในสภาพแปลงทดลอง แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง ดังนี้
การทดลองที่ 1 การศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังแบบผง
ละลายน้ำต่ออัตราการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในถุงตาข่ายทดลองในสภาพแปลงทดลอง
การทดลองที่ 2 การศึกษาผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ต่อสมบัติดิน การเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลงทดลอง
1) วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design,
RCBD) ประกอบด้วย 5 ตำรับการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ดังนี้
ตำรับการทดลองที่ 1 ควบคุม
ตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ อัตรา 5 ลิตรต่อไร่