Page 33 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          27








                                      2.3)  การเตรียมตัวอย่างตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                                            นำตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ส่วนของใบและลำต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตัดให้
                  มีความยาว 5 เซนติเมตร ชั่งตัวอย่างพืชใส่ถุงพลาสติกถุงละ 10 กรัม นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส
                  เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นนำมาผสมคลุกเคล้ากับตัวอย่างดินให้เข้ากัน แล้วบรรจุใส่กระถางทดลองขนาด

                  เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว
                                      2.4)  การเตรียมน้ำหมักชีวภาพจากปลา จำนวน 50 ลิตร (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                                            (1) ส่วนผสม ประกอบด้วย
                                               ปลาน้ำจืด                 30     กิโลกรัม

                                               ผลไม้                     10     กิโลกรัม
                                               กากน้ำตาล                 10     กิโลกรัม
                                               น้ำ                       10     ลิตร
                                               สารเร่งซุปเปอร์ พด. 2      1     ซอง (25 กรัม)

                                          (2) วิธีการหมัก
                                              (2.1) เทกากน้ำตาลตามอัตราส่วนลงในถังหมัก ใส่น้ำจำนวน 10 ลิตร และ
                  คนเพื่อละลายกากน้ำตาลกับน้ำเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเทสารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 ลงในถังหมัก คนประมาณ 5

                  นาที เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
                                              (2.2) สับวัสดุพืชหรือสัตว์ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ และใส่ลงในถังหมักวัสดุ พร้อมใส่
                  สารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 ที่เตรียมไว้ ปรับปริมาตรน้ำให้พอเหมาะ หรือท่วมวัสดุหมัก และคนส่วนประกอบต่าง ๆ
                  ให้เข้ากันอีกครั้ง แล้วปิดฝาไม่ต้องสนิท ในระหว่างการหมัก คน หรือกวน 1 - 2 ครั้งต่อวัน หมักเป็นระยะเวลา 20
                  วัน กรองเศษปลาออก นำส่วนใสมาใช้ประโยชน์

                                      2.5)  ค่าวิเคราะห์ทางเคมีของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และน้ำหมักชีวภาพปลา ดังตารางที่ 3

                  ตารางที่ 3  องค์ประกอบทางเคมีของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และน้ำหมักชีวภาพปลา

                                                                    องค์ประกอบทางเคมี (%)
                               ชนิด
                                                   pH       ไนโตรเจน     ฟอสฟอรัส     โพแทสเซียม      OC
                   ตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ใบ/ลำต้น)   -     0.53         0.15          2.21        41.23
                   น้ำหมักชีวภาพปลา                4.7        0.59         0.11          0.63          -


                                 3)  การใส่ปัจจัยทดลองในแต่ละตำรับการทดลอง
                                      ตำรับการทดลองที่ 1 ควบคุม
                                      - นำดิน 4 กิโลกรัม ผสมกับตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 10 กรัม

                                      - ไม่ใส่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
                                      - ปรับความชื้นในดินที่ 30 เปอร์เซ็นต์ ด้วยน้ำนึ่งฆ่าเชื้อ
                                      ตำรับการทดลองที่ 2
                                      - นำดิน 4 กิโลกรัม ผสมตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 10 กรัม

                                      - ใส่น้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2559)
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38