Page 32 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          26








                  แขวนลอย จากนั้นนำสารแขวนลอยกรองผ่านกระดาษกรอง Whatman No. 1 จะได้สารแขวนลอยเอนไซม์
                  อย่างหยาบนำไปใช้ในขั้นตอนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
                                              (2.3) นำสารละลายแขวนลอยของเชื้อราปริมาตร 100 มิลลิลิตร ใส่ในขวด
                  ก้นกลมขนาด 500 มิลลิลิตร มาผสมกับสารปกป้องเซลล์ตามตำรับการทดลอง ให้ได้ความเข้มข้นสุดท้าย 10

                  เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักโดยปริมาตร) จากนั้นนำเข้าตู้เย็นทำให้แข็งที่อุณหภูมิ - 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24
                  ชั่วโมง นำเข้าเครื่องทำแห้งแบบเยือกแข็งที่ความเย็นอุณหภูมิ - 50 องศาเซลเซียส ที่ระยะเวลา 27 ชั่วโมง
                  นำมาบดเป็นผงแล้วบรรจุซองเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง
                                              (2.4) การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ตัวอย่าง

                                                   การวิเคราะห์กิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส โดยวัดประสิทธิภาพการ
                  ทำงานของเอนไซม์เซลลูเลส ด้วยวิธี reducing sugar determination by 3, 5-dinitrosalicylic acid (DNS)
                  method (Miller, 1959) เก็บข้อมูลภายหลังบรรจุซองเก็บรักษาที่ 0 วัน ทุก 1 เดือน จนครบ 12 เดือน
                                      1.2.2) การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ วิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (analysis of variance)

                  และเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลโดยใช้วิธี Duncan’s New Multiple Range Test

                         4.2.2 การศึกษาวิธีและอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์เร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพ
                  โรงเรือนกระจก
                                 1)  วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 8 ตำรับการทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ ดังนี้
                                      ตำรับการทดลองที่ 1  ควบคุม

                                      ตำรับการทดลองที่ 2  น้ำหมักชีวภาพ อัตราแนะนำของกรมพัฒนาที่ดิน 5 ลิตรต่อไร่
                                      ตำรับการทดลองที่ 3  ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส อัตรา 25 กรัม ต่อน้ำ
                                                        50 ลิตรต่อไร่

                                      ตำรับการทดลองที่ 4  ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ
                                                        50 ลิตรต่อไร่
                                      ตำรับการทดลองที่ 5  ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ
                                                        50 ลิตรต่อไร่

                                      ตำรับการทดลองที่ 6  ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส 25 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่
                                      ตำรับการทดลองที่ 7  ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส 50 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่
                                      ตำรับการทดลองที่ 8  ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่
                                 2)  ขั้นตอนการดำเนินงาน

                                      2.1)  การเตรียมผลิตภัณฑ์แบบผงละลายน้ำ (จากผลการทดลองการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์)
                                            (1) เตรียมผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส แบบผงละลายน้ำ
                                            (2) เตรียมผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส แบบผงละลายน้ำ
                                      2.2)  การเก็บตัวอย่างดินและการเตรียมดิน

                                            เก็บตัวอย่างดินจากในพื้นที่แปลงทดสอบ ชุดดินนครปฐม ที่ระดับความลึก 0 - 15
                  เซนติเมตร ไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม และบดร่อนผ่านตะแกรงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ชั่งตัวอย่างดินใส่
                  ถุงพลาสติกถุงละ 4 กิโลกรัม นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นนำ
                  บรรจุใส่กระถางทดลองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37