Page 30 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          24








                                              (2.1) การสกัดเอนไซม์เซลลูเลส โดยนำตัวอย่างจากการเลี้ยงเชื้อข้อ 1.1.4 มา
                  20 กรัม ละลายในน้ำกลั่น 50 มิลลิลิตร เขย่าที่ความเร็ว 160 รอบต่อนาที เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 4
                  องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที นำไปปั่นเหวี่ยงที่ความเร็วรอบ 10,000 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิ 4 องศา
                  เซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที เก็บสารละลายส่วนใส

                                              (2.2) การวิเคราะห์กิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส โดยวัดประสิทธิภาพการทำงาน
                  ของเอนไซม์เซลลูเลส ด้วยวิธี reducing sugar determination by 3, 5 - dinitrosalicylic acid (DNS method)
                  (Miller, 1959) นำสารละลายส่วนใส ปริมาตร 0.5 มิลลิลิตร ใส่ในหลอดทดลอง แล้วใส่สาร potassium
                  hydrogen buffer ความเข้มข้น 0.05 โมลาร์ (pH 7.0) ปริมาตร 0.5 มิลลิลิตร นำกระดาษกรอง Whatman

                  no.1 ม้วนขนาด 1 x 6 เซนติเมตร ใส่ลงหลอดทดลองทันที บ่มในอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ (water bath) ที่
                  อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที (Gupta et al., 2012) จากนั้นวัดกิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสที่
                  เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่ผลิตได้ ด้วยวิธี Dinitrosalicylic acid method (Miller, 1959) โดยเติม
                  สารละลาย dinitrosalicylic acid (DNS) ปริมาตร 3.0 มิลลิลิตร ลงในหลอดทดลอง นำไปต้มในน้ำเดือดเป็น

                  เวลา 10 นาที แล้วหยุดปฏิกิริยาโดยการแช่น้ำแข็ง เป็นเวลา 2 นาที หลังจากนั้นเติมน้ำกลั่น ปริมาตร 5
                  มิลลิลิตร นำไปวัดค่าความดูดกลืนแสงด้วยเครื่อง spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 520 นาโนเมตร
                  และคำนวณกิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส โดยกำหนดให้กิจกรรมของเอนไซม์ 1 ยูนิต (unit) หมายถึง ปริมาณ

                  เอนไซม์ย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นน้ำตาลรีดิวซ์ที่ถูกปลดปล่อยออกมา 1 ไมโครโมล (µmole) ในเวลา 1 นาที
                  ดังนี้

                                    กิจกรรมเซลลูเลส  =                  ปริมาณผลผลิตน้ำตาลรีดิวซ์ที่เกิดขึ้น (ไมโครโมล)
                                    (ยูนิตต่อมิลลิลิตร)                ปริมาตรของตัวอย่างทดสอบ (มิลลิลิตร) x เวลา (นาที)


                                      1.1.6) การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ วิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (analysis of variance)
                  และเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลโดยใช้วิธี Duncan’s New Multiple Range Test


                                 1.2) การทดลองที่ 2 การศึกษาชนิดของสารปกป้องเซลล์และเอนไซม์เซลลูเลส เพื่อผลิตเป็น
                  ผลิตภัณฑ์แบบผงละลายน้ำ

                                      ศึกษาเปรียบเทียบสารปกป้องเซลล์ 5 ชนิด ในการรักษาสภาพเซลล์เชื้อรา และ
                  เอนไซม์เซลลูเลส เป็นวัสดุรองรับผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบผงละลายน้ำ โดยวางแผนการทดลองแบบ
                  สุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 5 ตำรับการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ดังนี้

                                      ตำรับการทดลองที่ 1  มอลโตเดกซ์ตริน (MD) 10 % (น้ำหนักโดยปริมาตร)
                                      ตำรับการทดลองที่ 2  แล็กโทส (LT) 10 % (น้ำหนักโดยปริมาตร)
                                      ตำรับการทดลองที่ 3  สกิมมิลค์ (SM) 10 % (น้ำหนักโดยปริมาตร)
                                      ตำรับการทดลองที่ 4  ทรีฮาโลส (TH) 10 % (น้ำหนักโดยปริมาตร)

                                      ตำรับการทดลองที่ 5  โพลีไวนิลไพโรลิโดน (PVP) 10 % (น้ำหนักโดยปริมาตร)

                                      1.2.1) ขั้นตอนการดำเนินงาน
                                            (1) การเตรียมผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35