Page 31 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          25








                                              (1.1) การเตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์และเอนไซม์เซลลูเลส ทำการเพาะเลี้ยงเชื้อ
                  ราแบบอาหารแข็ง การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ด้วยการหมักแบบแห้ง (ตามผลการทดลองที่ 1) โดยเตรียมข้าวเสาไห้
                  40 กรัม ใส่ในขวดรูปชมพูขนาด 500 มิลลิลิตร ใส่สารละลายสารชักนำ ปริมาตร 40 มิลลิลิตร นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่
                  อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำใส่ลงในถาดสแตนเลสขนาด 8 x 12 นิ้ว

                  ทำการเกลี่ยวัสดุให้แยกออกจากกัน นำกล้าเชื้อสายพันธุ์ Corynascus verrucosus 23 ที่เพาะเลี้ยงบนอาหาร
                  แข็ง PDA ตัดเชื้อเฉพาะสายเส้นใย โดยใช้หัวเจาะ cork - borers เบอร์ 3 ขนาด 5 มิลลิเมตร จำนวน 2 ชิ้น มา
                  ใส่ในถาด ปิดถาดด้วยผ้าขาวบาง บ่มที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส จากนั้นเกลี่ยตัวอย่างทุกเวลา 24 ชั่วโมง ปิด
                  ด้วยผ้าขาวบาง เลี้ยงเชื้อที่ 7 วัน นำเชื้อมาละลาย แยกเชื้อออกจากวัสดุด้วยน้ำนึ่งฆ่าเชื้อปริมาตร 100

                  มิลลิลิตร กรองด้วยตะแกรงเพื่อแยกเศษข้าวเสาไห้ออกจะได้สารแขวนลอยของเชื้อราผสมเอนไซม์ นำไปใช้ใน
                  ขั้นตอนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
                                              (1.2) การผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการทำแห้งแบบเยือกแข็ง นำสารละลาย
                  แขวนลอยของเชื้อราปริมาตร 100 มิลลิลิตร ใส่ในขวดก้นกลมขนาด 500 มิลลิลิตร มาผสมกับสารปกป้องเซลล์

                  ตามตำรับการทดลอง ปริมาตร 10 กรัม ให้ได้ความเข้มข้นสุดท้าย 10 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร จากนั้นนำเข้า
                  ตู้เย็นทำให้แข็งที่อุณหภูมิ - 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง นำเข้าเครื่องทำแห้งแบบเยือกแข็งที่ความ
                  เย็นอุณหภูมิ - 50 องศาเซลเซียส ที่ระยะเวลา 27 ชั่วโมง นำมาบดเป็นผงแล้วบรรจุซองเก็บรักษาที่

                  อุณหภูมิห้อง
                                              (1.3) การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ตัวอย่าง
                                                   (1.3.1)  การวิเคราะห์ปริมาณจุลินทรีย์ ด้วยวิธี Microbiological method
                  ตรวจนับจำนวนจุลินทรีย์ โดยวิธี dilution plate count บนอาหาร Martin’s streptomycin medium (MA)
                  เก็บข้อมูลภายหลังบรรจุซองเก็บรักษาที่ 0 วัน ทุก 1 เดือน จนครบ 12 เดือน

                                                   (1.3.2) การวิเคราะห์กิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส โดยวัดประสิทธิภาพ
                  การทํางานของเอนไซม์เซลลูเลส ด้วยวิธี reducing sugar determination by 3, 5-dinitrosalicylic acid
                  (DNS) method (Miller, 1959)

                                          (2) การเตรียมผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำ
                                              (2.1) การเตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส เพาะเลี้ยงเชื้อราแบบ
                  อาหารแข็ง การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ด้วยการหมักแบบแห้ง โดยเตรียมข้าวเสาไห้ 40 กรัม ใส่ในขวดรูปชมพู
                  ขนาด 500 มิลลิลิตร ใส่สารละลายสารชักนำปริมาตร 40 มิลลิลิตร นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส

                  เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำใส่ลงในถาดสแตนเลส ขนาด 8 x 12 นิ้ว ทำการเกลี่ยวัสดุให้แยก
                  ออกจากกัน นำกล้าเชื้อสายพันธุ์ Corynascus verrucosus 23 ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารแข็ง PDA ตัดเชื้อ
                  เฉพาะสายเส้นใย โดยใช้หัวเจาะ cork - borers เบอร์ 3 ขนาด 5 มิลลิเมตร จำนวน 2 ชิ้น มาใส่ในถาด
                  ปิดถาดด้วยผ้าขาวบาง บ่มที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส จากนั้นเกลี่ยตัวอย่างทุกเวลา 24 ชั่วโมง ปิดด้วย

                  ผ้าขาวบาง เลี้ยงเชื้อที่ 7 วัน นำเชื้อมาละลายแยกออกจากวัสดุด้วยน้ำนึ่งฆ่าเชื้อปริมาตร 100 มิลลิลิตร กรอง
                  ด้วยตะแกรงเพื่อแยกเศษข้าวเสาไห้ออกจะได้สารแขวนลอยของเชื้อผสมเอนไซม์ นำไปใช้ในขั้นตอนการผลิต
                  ผลิตภัณฑ์ต่อไป
                                              (2.2) การเตรียมสารละลายเอนไซม์เซลลูเลส นำเชื้อในข้อ (1) มาละลายเชื้อ

                  ออกจากวัสดุด้วยน้ำนึ่งฆ่าเชื้อปริมาตร 100 มิลลิลิตร กรองด้วยตะแกรงเพื่อแยกเศษข้าวออกจะได้สาร
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36