Page 28 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
บทที่ 4
อุปกรณ์และวิธีการศึกษา
4.1 อุปกรณ์
การศึกษาครั้งนี้ มีรายละเอียดอุปกรณ์ ดังนี้
1) อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่าง ได้แก่ ถุงเก็บตัวอย่าง ถุงตาข่ายไนล่อน
2) อุปกรณ์เครื่องแก้ว เครื่องมือในการแยกเชื้อ และนับเชื้อจุลินทรีย์
3) เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ได้แก่
3.1) เครื่อง Freeze Dryer
3.2) ตู้แช่แข็ง - 80 องศาเซลเซียส
3.3) กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง
3.4) เครื่องวัดการดูดกลืนแสง (spectrophotometer)
4) สารเคมี ได้แก่
4.1) สารเคมีสำหรับอาหารเลี้ยงเชื้อ
4.2) สารเคมีวิเคราะห์กิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส
5) สารปกป้องเซลล์ ได้แก่
5.1) มอลโตเดกซ์ตริน (maltodextrin, MD)
5.2) แล็กโทส (lactose, LT)
5.3) สกิมมิลค์ (skim milk, SM)
5.4) ทรีฮาโลส (trehalose, TH)
5.5) โพลีไวนิลไพโรลิโดน (polyvinylpyrrolidone, PVP)
6) อาหารเลี้ยงเชื้อด้วยวิธีการการหมักแห้ง ได้แก่
6.1) ข้าวเสาไห้
6.2) ข้าวโอ๊ต
6.3) ข้าวสาลี
7) ปุ๋ยเคมี ได้แก่ สูตร 46 - 0 - 0 สูตร 18 - 46 - 0 และสูตร 0 - 0 - 60
8) เมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พันธุ์แปซิฟิค 789
4.2 วิธีการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ มีรายละเอียดวิธีการ ดังนี้
4.2.1 การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังแบบผงละลายน้ำ
1) การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังแบบผงละลายน้ำ
ประกอบด้วย 2 การทดลอง โดยแต่ละการทดลองมีรายละเอียดแสดง ดังนี้
1.1) การทดลองที่ 1 การศึกษาชนิดของอาหารเลี้ยงเชื้อราด้วยวิธีการหมักแบบอาหารแข็ง
solid-state fermentation (SSF) ที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณเชื้อรา และผลิตเอนไซม์เซลลูเลส โดย
วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 3 ตำรับการทดลอง จำนวน 6 ซ้ำ ดังนี้