Page 26 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          20








                  เปอร์เซ็นต์ และรายงานของ Tan (1997) พบว่า การเก็บรักษาเชื้อราแห้งแบบแช่เยือกแข็ง สามารถรักษาความ
                  คงตัวที่ดีของเซลล์ และมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน โดยการปกป้องเส้นใยเชื้อราด้วยสกิมมิลค์ 10 เปอร์เซ็นต์
                  ผสมน้ำกลั่น 5 เปอร์เซ็นต์ และจากรายงานของ Desmons et al. (1998) ได้ทำการผลิตเชื้อ Lactobacillus
                                                      10
                  brevis มีความเข้มข้นของเซลล์ถึง 8.2 x 10  CFU ต่อมิลลิลิตร โดยการอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง และการเติม
                  สารปกป้องเซลล์ ได้แก่ นมผงไขมันต่ำ 70 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต 59 เปอร์เซ็นต์ และ 137 วัน
                               3)  โพลีไวนิลไพโรลิโดน (polyvinylpyrrolidone, PVP) ได้จากการปฏิกิริยาเอาน้ำออก (hydrolysis)
                  ของ polyvinyl acetate ละลายได้ดีในน้ำ และสารละลายอินทรีย์ สารละลายที่ได้มีความหนืดค่อนข้าง
                  ต่ำ นิยมใช้เพื่อเพิ่มความคงสภาพของอิมัลชัน มีรายงานการใช้ประโยชน์เป็นสารปกป้องเซลล์ และคงสภาพ

                  เซลล์ รวมถึงสารออกฤทธิ์ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา จากรายงานของหนึ่ง และ พรรณลดา (2557) พบว่า การ
                  ใช้สารเคมีในกลุ่มพอลิเมอร์ เช่น polyvinylpyrrolidone  polyethylene glycol และแป้งมันสำปะหลัง เพื่อ
                  รักษาให้เชื้อมีอายุการเก็บรักษาที่ดีขึ้น โดยได้ทดสอบสูตรต่าง ๆ ในขณะที่เชื้อ Bacillus sp. BSN201 มีสูตร
                  อาหารที่เติมสาร PVP 1 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับแป้งมันสำปะหลัง 1 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถรักษาจำนวนเซลล์ให้อยู่ใน

                         8
                  ระดับ 10  เซลล์ต่อมิลลิลิตร เมื่อเก็บรักษาได้นาน 90 - 120 วัน และตามรายงานของ Singleton et al. (2002) และ
                  Tittabutr et al. (2007) โดยพบว่า สาร PVP สามารถผสมกับอาหารเลี้ยงเชื้อ และใช้เลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย
                  Bradyrhizobium ได้ตามปกติโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญของเซลล์ เนื่องจากเซลล์แบคทีเรียไม่สามารถ

                  ใช้สารพอลิเมอร์เหล่านี้เป็นแหล่งพลังงานได้ อย่างไรก็ตาม สารพอลิเมอร์เหล่านี้มีคุณสมบัติในการส่งเสริมการ
                  เจริญและการมีชีวิตอยู่รอดของเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากสารเหล่านี้มีคุณสมบัติความเหนียว ซึ่งช่วยเพิ่มให้เซลล์
                  แบคทีเรียยึดเกาะกับเมล็ดได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยให้เชื้อที่เคลือบอยู่บนเมล็ดพืชไม่แห้งเร็วจนเกินไปเมื่อนำไปใช้ใน
                  สภาพไร่ (Deaker et al., 2004) และสาร PVP ยังมีค่าความสามารถของสารที่ยึดจับน้ำ (water binding capacity)
                  สูง จึงสามารถคงความชื้นโดยการยึดเกาะน้ำบริเวณรอบเซลล์ได้มากขึ้น จึงทำให้เซลล์สามารถใช้น้ำในกระบวนการ

                  ต่าง ๆ และยืดอายุการเก็บรักษาได้
                         3.3.3  ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์และสารอินทรีย์
                               1) อุณหภูมิการเก็บรักษา เป็นปัจจัยที่สำคัญต่ออายุการเก็บรักษาหัวเชื้อผงให้มีชีวิตนานขึ้น

                  เมื่อเก็บรักษาจุลินทรีย์ Lactobacillus rhamnosus GG ที่อุณหภูมิ 25 และ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5
                  สัปดาห์ จากรายงานของ Ananta et al. (2005) พบว่า เมื่อระยะเวลาการเก็บรักษานานขึ้น การเก็บรักษาเชื้อ
                  ผงที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีจำนวนเชื้อที่รอดชีวิตหลังการเก็บรักษาสูงกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 37
                  องศาเซลเซียส นอกจากนี้การเก็บรักษาจุลินทรีย์ Lactobacillus delbrueckii ssp. และ Lactobacillus

                  delbrueckii ในรูปแบบผงหลังการทำแห้งแบบพ่นฝอย และรายงานของ Teixeira et al. (1995) พบว่า การ
                  เก็บรักษาเชื้อที่อุณหภูมิต่ำ จำนวนเชื้อที่รอดชีวิตจะสูงกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส
                  เนื่องจากที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงที่
                  เหมาะสมกับการทำงานของเอนไซม์ทำให้มีกิจกรรมเกิดขึ้นในเซลล์มากกว่าอุณหภูมิต่ำ

                               2) บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ผง ต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ต้องการให้ออกซิเจนซึมผ่าน
                  มีคุณสมบัติในการป้องกันความชื้นได้ดี และช่วยรักษาอายุของผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงลามิเนตเป็นถุงพลาสติกชนิด
                  หนึ่งที่สามารถใช้บรรจุอาหารเพื่อป้องกันความชื้นมีส่วนประกอบของ polypropylene (PP) เป็นพลาสติก
                  ประเภทเทอร์โมพลาสติกที่เบาที่สุด มีสมบัติเชิงกลดีมาก เหนียว ทนต่อแรงดึงแรงกระแทกและทรงตัวดี มี

                  จุดหลอมตัวที่ 165 องศาเซลเซียส โดยไอน้ำและออกซิเจนซึมผ่านได้ต่ำ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีมาก ส่วนชั้น low
                  density polyethylene (PE) เป็นโพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ แต่มีข้อเสีย คือ สามารถปล่อยให้ไขมันและ
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31