Page 25 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          19








                  (reducing sugar) คิดเป็นปริมาณน้ำตาลเด็กโตรส (dextrose) ที่มีอยู่ในคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด มอลโตเดกซ์
                  ตริน มีค่า dextrose equivalent อยู่ระหว่าง 5 - 20 นอกจากนี้ยังพบว่า มอลโตเดกซ์ตรินที่มีค่า DE สูงจะทน
                  ต่อความร้อนได้น้อยกว่ามอลโตเดกซ์ตรินที่มีค่า DE ต่ำ วัตถุดิบที่ใช้ผลิตมอลโตเดกซ์ตริน คือ แป้ง (starch)
                  จากพืชต่าง ๆ เช่น แป้งมันสำปะหลัง (tapioca starch) แป้งข้าวโพด (corn starch) แป้งมันฝรั่ง (potato starch)

                  โดยการย่อยด้วยเอนไซม์อะไมเลส (amylase) ชนิดแอลฟา - อะไมเลส มักใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food
                  additive) มีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดสีขาวไม่มีรส หรือมีรสหวานเล็กน้อย สามารถละลายน้ำได้ดี และมีการใช้
                  ประโยชน์จากสารมอลโตเดกซ์ตรินเป็นสารปกป้องเซลล์จุลินทรีย์ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ผงหลากหลาย
                  รูปแบบ จากรายงานของ Boza et al. (2004) ศึกษาการทำแห้งแบบพ่นฝอย Beijerinckia sp. โดยใช้มอลโต

                                                                                 9
                  เดกซ์ตริน DE20 เป็นสารปกป้องเซลล์ จำนวนเซลล์เริ่มต้นเท่ากับ 1.40 x 10  CFU ต่อกรัม พบว่า หลังการทำ
                  แห้งจำนวนการรอดชีวิตของจุลินทรีย์ลดลงเหลือ 1.28 x 10  CFU ต่อกรัม และจากรายงานของ Kanakdande
                                                                   8
                  et al. (2007) ศึกษาการใช้สารผสมระหว่างกัมอารบิก แป้งดัดแปร และมอลโตเด็กซ์ตริน เป็นวัสดุห่อหุ้ม (wall
                  material) คงความมีชีวิตของจุลินทรีย์ได้เพิ่มขึ้น










                  ภาพที่ 10  โครงสร้างมอลโตเดกซ์ตริน

                  ที่มา : Food network (2010)

                                 1.3  ทรีฮาโลส (trehalose) เป็นน้ำตาลไดแซ็กคาไรด์ แบบนอนรีดิวซ์ (non - reducing sugar)

                  มีคุณสมบัติและหนาที่ช่วยในการปองกันสารชีวโมเลกุลทั้งหลายจากภาวะเครียด (stress) มีพันธะไกลโคซิดิก
                  (α,α-1, 1-glycosidic) เชื่อมตรงกลางระหว่าง กลูโคส 2 โมเลกุล พันธะนี้เป็นพันธะโควาเลนท์ ที่เชื่อมหมู่

                  ฟังก์ชันเฮมิอะซีทัลให้ครบวง ทำให้ไม่มีหมู่ฟังก์ชันที่กลายสภาพเป็นตัวรีดิวซ์ จึงทำให้ทรีฮาโลสสามารถทนต่อ
                  ความร้อนและกระบวนการไฮโดรไลซิส รวมถึงสามารถคงสภาพส่วนประกอบอื่นในผลิตภัณฑ์ได้ มีลักษณะเป็น
                  ผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีสูตรเคมี คือ C 12H 22O 11 2H 2O เป็นสารที่มีความคงตัว ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่เป็นน้ำตาล
                  รีดิวซ จึงถูกนําไปใชเป็นสารคงตัว (stabilizer) สำหรับเอนไซมโปรตีน และมวลชีวภาพ สามารถใชเป็นสวน
                  ประกอบของอาหาร (food ingredient) ได้อย่างปลอดภัย (Insel et al., 2010) การสะสมทรีฮาโลสภายในเซลล์

                  เกิดขึ้นภายใต้สภาวะเครียดหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิต่ำ ความเข้มข้นของเกลือสูง และสภาวะอื่นที่ไม่เหมาะสมต่อ
                  การเจริญ (Hugenholtz and Smid, 2002)
                               2) สกิมมิลค์ (skim milk) หรือ หางนม หมายถึง น้ำนมที่แยกเอาไขมันเนยออกเกือบทั้งหมด

                  ของแข็งที่เหลือเรียกว่า ของแข็งในน้ำนมปราศจากไขมัน (milk solids not fat) ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนนม
                  และน้ำตาลแล็กโทส (lactose) จากรายงานของ Lian et al. (2002) การใช้นมขาดมันเนยเป็นสารปกป้อง
                  เซลล์ในการทำแห้งแบบพ่นฝอย Bifidobacterium longum B6 พบว่า การรอดชีวิตของจุลินทรีย์ 82.59
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30