Page 27 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5.2 การสอบถามเกี่ยวกับความจ าเป็นและความกังวล เป็นการประเมินและ
ตอบสนองต่อความจ าเป็นและความกังวลด้านต่าง ๆ ของผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ทั้งทางอารมณ์ ทางกาย ทางสังคมและการปฏิบัติตามหน้าที่ เพื่อที่จะรับรู้ว่าอะไรที่ส าคัญที่สุดส าหรับ
ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ และเคารพต่อความต้องการและตอบสนองต่อความจ าเป็น
ที่ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศต้องการ รับฟังและให้ความใส่ใจต่อสิ่งที่ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือ
คุกคามทางเพศพูดเกี่ยวกับความจ าเป็นและความกังวล ซึ่งต้องแยกความจ าเป็นและความกังวล
เป็นด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความจ าเป็นทางกาย ความจ าเป็นทางอารมณ์ หรือความจ าเป็นทางเศรษฐกิจ
ความกังวลด้านความปลอดภัย หรือความช่วยเหลือทางสังคมที่ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
จ าเป็นต้องได้รับ
5.3 การท าให้ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศเห็นว่าตนเองมีคุณค่า
เป็นการแสดงออกถึงความเข้าใจและเชื่อในสิ่งที่ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศกล่าว และ
ให้ความมั่นใจว่า ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศจะไม่ถูกต่อว่า เพื่อให้ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ทราบว่าความรู้สึกของตนเป็นสิ่งปกติ และสามารถพูดถึงความรู้สึกของตนได้อย่างปลอดภัย รวมถึง
มีสิทธิที่จะอยู่โดยปราศจากความรุนแรงและความกลัว ทั้งนี้ การให้คุณค่ากับประสบการณ์ของคนอื่น
เป็นการให้บุคคลนั้นรับรู้ถึงการรับฟังอย่างตั้งใจ และเข้าใจถึงสิ่งที่บุคคลดังกล่าวพูด ตลอดจน
เชื่อโดยที่ไม่ตัดสินหรือมีเงื่อนไขในการรับฟัง
5.4 การส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัย เป็นการพูดคุยกับผู้ถูกล่วงละเมิด
หรือคุกคามทางเพศ ถึงแผนการณ์ที่จะปกป้องผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศจากภัยคุกคาม
หากเกิดความรุนแรงขึ้นอีก เพื่อช่วยผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ประเมินสถานการณ์และ
วางแผนถึงความปลอดภัยของตนเองในอนาคต
ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศหลายคน มีความกลัวเรื่องความปลอดภัย
ของตนเอง แต่บางคนอาจจะไม่ได้คิดถึงประเด็นนี้ แต่ยังไม่ทราบว่ามีโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง
ควรอธิบายให้ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศทราบว่าความรุนแรงจากคนใกล้ชิดจะไม่หยุดได้
ด้วยตนเอง แต่มีแนวโน้มว่าจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและจะเกิดบ่อยครั้งขึ้น
ทั้งนี้ การประเมินและการวางแผนเรื่องความปลอดภัยเป็นกระบวนการ
ที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นจากการพูดคุยในครั้งเดียว ควรมีการประเมินและการวางแผนเรื่องความปลอดภัย
ดังนี้
5.4.1 ประเมินความปลอดภัยหลังจากการได้รับความรุนแรงทางเพศ
โดยผู้ถูกกระท ารุนแรงทางเพศมักจะรู้จักผู้ที่กระท า
5.4.2 ประเมินความเสี่ยงเฉพาะหน้าของความรุนแรงจากคนใกล้ชิด
5.5 การช่วยเหลือ เป็นการสนับสนุนผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
โดยให้เข้าถึงข้อมูล บริการและการช่วยเหลือทางสังคม เพื่อให้ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
สามารถเข้าถึงแหล่งช่วยเหลือด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและการช่วยเหลือทางสังคม ทั้งนี้สามารถ
พูดคุยกับผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศถึงความจ าเป็นที่ต้องการ โดยมีแนวทางการช่วยเหลือ
ดังนี้