Page 28 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5.5.1 สอบถามผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศถึงสิ่งส าคัญที่สุด
ส าหรับตนขณะนี้ โดยสอบถามว่าอะไรที่จะช่วยผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศได้มากที่สุด
หากสามารถช่วยเหลือได้ในขณะนี้
5.5.2 ช่วยเหลือผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ในการระบุและ
พิจารณาทางเลือกที่มี
5.5.3 พูดคุยเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม โดยพิจารณาว่าผู้ถูกล่วงละเมิด
หรือคุกคามทางเพศมีสมาชิกในครอบครัว เพื่อนหรือคนที่ไว้วางใจ ที่สามารถพูดคุยด้วยได้หรือไม่
6. การด าเนินงานตามแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือ
คุกคามทางเพศในการท างานของกรมพัฒนาที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน ด าเนินการตามแนวทางป้องกันการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการท างานของหน่วยงาน ดังนี้
6.1 ผู้บริหารหน่วยงาน ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการท างานทุกรูปแบบ
6.2 เวียนแจ้ง ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิด
หรือคุกคามทางเพศในการท างาน พร้อมทั้ง แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิด
หรือคุกคามทางเพศในการท างานให้บุคลากรภายในหน่วยงานทราบ
6.3 ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ สร้างจิตส านึกในพฤติกรรมที่พึงปฏิบัติ เพื่อป้องกัน
ปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศอย่างต่อเนื่อง
6.4 จัดสถานที่ท างานให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการล่วงละเมิดหรือ
คุกคามทางเพศในการท างาน
7. การคุ้มครองผู้ร้องเรียนและผู้เป็นพยาน
7.1 เมื่อมีการร้องเรียนแล้ว ผู้ร้องและผู้เป็นพยานจะไม่ถูกด าเนินการใด ๆ
ที่กระทบต่อหน้าที่การงานหรือการด ารงชีวิต หากจ าเป็นต้องมีการด าเนินการใด ๆ เช่น การแยกสถานที่
ท างานเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ร้อง พยาน และผู้ถูกกล่าวหาพบปะกัน เป็นต้น ทั้งนี้ต้องได้รับความยินยอม
จากผู้ร้องและพยาน
7.2 ข้อร้องขอของผู้เสียหาย ผู้ร้องเรียน หรือพยาน เช่น การขอย้ายสถานที่ท างาน
หรือวิธีการในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรได้รับการพิจารณาจากบุคคลหรือหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบตามความเหมาะสม
7.3 ให้การคุ้มครองผู้ร้องเรียนและพยานไม่ให้ถูกกลั่นแกล้ง