Page 30 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                                                            บทที่ 4
                          การแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน



                                     การจัดการกับปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน
                       เป็นกระบวนการก่อนเข้าสู่กระบวนการทางวินัยที่ให้ผู้ถูกกระท าเป็นศูนย์กลาง ค านึงถึงความต้องการ
                       ของผู้ถูกกระท า มีกระบวนการจัดการปัญหาที่เป็นมิตร ไม่สร้างความอับอายแก่ทั้งผู้ถูกกระท าและผู้กระท า

                       ซึ่งจะลดการเกิดผลเสียต่อความสัมพันธ์ในการท างานของทั้งสองฝ่าย ดังนั้น การแก้ไขปัญหา
                       การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน จะเริ่มต้นจากการแก้ไขปัญหาอย่างไม่เป็นทางการ
                       แต่หากว่ายังไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้จะต้องเข้าสู่กระบวนการทางวินัย โดยมีรายละเอียดดังนี้


                       1. การแก้ไขปัญหาอย่างไม่เป็นทางการ


                                     การยุติปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างานจะใช้กระบวนการ
                       “การแก้ไขปัญหาอย่างไม่เป็นทางการ” เพื่อแก้ไขปัญหาเป็นล าดับแรก
                                     1.1  สิ่งที่ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศต้องด าเนินการ
                                          1.1.1  ในกรณีที่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ ให้พูด/เขียนถึงผู้กระท า

                       เพื่อแจ้งให้ผู้กระท าทราบพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับและร้องขอให้หยุดการกระท า ผู้ถูกกระท า
                       อาจขอให้มีคนอยู่เป็นเพื่อนหรือพูดในนามตนเองได้
                                          1.1.๒  ในกรณีไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ให้ด าเนินการดังนี้
                                                  ๑) ร้องขอความช่วยเหลือต่อผู้บังคับบัญชาของผู้กระท า หลังจาก

                       เกิดเหตุการณ์ขึ้น และให้ผู้บังคับบัญชาบันทึกเหตุการณ์เป็นหนังสือและส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ
                       ภายใน 7 วัน เพื่อด าเนินการค้นหาข้อเท็จจริง หากไม่ด าเนินการใด ๆ ถือว่าผู้บังคับบัญชาละเลย
                       ต่อการปฏิบัติหน้าที่

                                                  ๒) ร้องขอหน่วยงานที่รับผิดชอบให้มีบุคคลเป็นผู้ประสานงาน
                       เพื่อช่วยเหลือจัดให้มีการประชุมหารือระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางยุติอย่างไม่เป็นทางการ
                       หรือผู้ไกล่เกลี่ยช่วยเหลือในการยุติเรื่องดังกล่าว
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35