Page 8 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 1
บทน า
1. หลักการและเหตุผล
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน มีรูปแบบที่หลากหลาย ส่วนใหญ่
เป็นการกระท าทางวาจา การสัมผัสทางกาย รวมถึงการแสดงท่าทางที่สื่อความหมายทางเพศอีกด้วย
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในสถานที่ท างานเป็นภัยเงียบที่ไม่ปรากฏความจริงให้สังคมได้รับรู้
อาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่มองว่าเหตุการณ์การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน
เป็นปัญหาที่ไม่รุนแรงหรือเพื่อรักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของตัวบุคคลหรือองค์กร แต่ในปัจจุบัน
การรายงานข่าวเรื่องการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศปรากฏต่อสังคมมากขึ้น ท าให้คนในสังคม
เริ่มวิตกกังวลและหันมาตระหนักเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านั้นมากขึ้น การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการท างานหรือเกี่ยวเนื่องจากการท างานสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งหญิง ชาย และ
บุคคลหลากหลายทางเพศ จากการกระท าของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา รวมถึงเพื่อนร่วมงาน
ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวในเรื่องชีวิตทางเพศและสิทธิในการท างานที่บุคคลควรได้อยู่
ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งยังขัดขวางโอกาสต่าง ๆ ในการท างานที่มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ดี สถานการณ์การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในสังคมไทยยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น
เนื่องจากสังคมไทยมองว่าการถูกกระท าดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ผู้ที่ถูกกระท าจึงไม่กล้า
เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งไม่กล้าเรียกร้องเอาผิดกับผู้กระท า ท าให้การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการท างานยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและ
อารมณ์ ผู้ถูกกระท าจะมีความเครียด รู้สึกอึดอัด ร าคาญ หรือรู้สึกกลัว ไม่ปลอดภัยต่อหน้าที่การงาน
หวั่นวิตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ วิตกกังวล สูญเสียความภาคภูมิใจ
ในตนเอง นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการท างาน เกิดความตึงเครียดในที่ท างาน ขาดงานบ่อยครั้ง
เพราะผู้ถูกกระท าจะหลีกเลี่ยงการพบเจอผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือเพื่อนร่วมงานที่กระท า
การคุกคามทางเพศอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อกระบวนการท างานในองค์กร รวมทั้ง
ประสิทธิภาพการท างานและคุณภาพของงานอย่างมาก