Page 42 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระบุรี
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               35







                       เฉลิมพระเกียรติ 23,841 ไร่ อำเภอวิหารแดง 8,454 ไร่ อำเภอเมืองสระบุรี 5,912 ไร่ อำเภอเสาไห้
                       5,288 ไร่ อำเภอบ้านหมอ 5,220 ไร่ และอำเภอมวกเหล็ก 1,567 ไร่ ตามลำดับ (จากฐานข้อมูล

                       Agri-Map Online)

                                บัวบก ไม้ล้มลุก ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica อยู่ในจำพวกผัก ประเภทเลื้อย มีลำต้น

                       เลื้อยไปตามดินที่ชื้นแฉะ เรียกว่า ไหล มีรากงอกออกตามข้อของลำต้น  ชอบดินร่วนปนทราย ชื้นแฉะ
                       มีการระบายน้ำดี เป็นพืชที่ไม่ชอบแสงแดดจัด แต่ต้องการแสงมาก เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ

                       ระหว่าง 25 - 30 องศาเซลเซียส โดยพื้นที่จังหวัดสระบุรีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกบัวบกที่ระดับ

                       ความเหมาะสูง (S1) ประมาณ 2,288 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอแก่งคอย 1,159 ไร่ และอำเภอเฉลิม
                       พระเกียรติ 1,129 ที่ระดับความเหมาะปานกลาง (S2) ประมาณ 23,035 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอแก่งคอย

                       8,150 ไร่อำเภอบ้านหมอ 7,459 ไร่ อำเภอพระพุทธบาท 2,543 ไร่ อำเภอหนองโดน 2,113 ไร่ อำเภอ
                       เมืองสระบุรี 1,198 ไร่ อำเภอเสาไห้ 711 ไร่ และอำเภอวิหารแดง 58 ไร่ ตามลำดับ (จากฐานข้อมูล

                       Agri-Map Online)

                               ไพล เป็นพืชชนิดหนึ่งในวงศ์ขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar ป็นพืชลงหัว มีเหง้า
                       ใหญ่ เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นหอม ใบเรียวยาวปลายแหลม ดอกออกรวมกันเป็นช่ออยู่บนก้านช่อดอก

                       ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา จะเก็บเหง้าที่แก่จัดหลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว ไพลเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี

                       สูง 0.7 - 1.5 เมตร มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เหง้าสดมีเนื้อในสีเหลืองถึง
                       เหลืองแกมเขียว ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ใช้ผสมในน้ำพริกแกง

                       ป่าทางจังหวัดระยอง ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ป่าทำให้น้ำแกงสีเหลือง ส่วนของไพลที่ใช้เป็นยาคือ
                       เหง้าแก่จัด แก้ฟกช้ำ บวม เคล็ด ยอก ปวดเมื่อย ขับลม ท้องเดิน ช่วยขับระดูหรือประจำเดือนของ

                       สตรีนิยมใช้หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว เหง้าไพลมีน้ำมันหอมระเหย ร้อยละ 0.8 และมีสารที่ให้สี

                       ซึ่งจากการทดลองพบว่ามีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการค้นคว้าสารสำคัญที่
                       มีสรรพคุณแก้หอบหืดและมีการวิจัยทางคลินิก โดยใช้รักษาโรคหืดในเด็ก และไม่มีพิษเฉียบพลัน

                       การปลูกไพล ไพลสามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด แง่งหรือเหง้าซึ่งเป็นส่วนของลำต้นใต้ดิน โดย
                       ทั่วๆ ไปจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการปลูก ไพลชอบดินร่วนซุย ไม่ชอบน้ำขังหรือดินที่มี

                       การระบายน้ำไม่ดีเนื่องจากจะเน่าเสียโดยเฉพาะดิน ที่มีสภาพเป็นกรด เมื่อมีฝนชุกหรือความชื้นในดิน

                       สูง จะทำให้เกิดโรคแง่งเน่า สามารถปลูกกลางแจ้งจนถึงมีแสงแดดพอควร ส่วนต้นเหนือดินมักจะยุบหรือ
                       แห้งเมื่อเข้าฤดูแล้ง และจะผลิต้นใหม่ในฤดูฝน ส่วนใหญ่จะเก็บเหง้าแก่เมื่ออายุ 2-3 ปีหลังปลูก โดยจังหวัด

                       สระบุรีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) ประมาณ 901 ไร่ พบอยู่ใน

                       อำเภอแก่งคอยทั้ง 901 ไร่ (จากฐานข้อมูล Agri-Map Online)
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47