Page 46 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระบุรี
P. 46
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
39
เหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือหรือเข้า
โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่ปัจจุบัน
เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น อ้อยโรงงาน
มันสำปะหลัง และข้าว ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ ถ้าในอนาคตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาดี เกษตรกร
อาจกลับมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์อาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นอาจส่งเสริมในเรื่องของการทำเกษตรรูปแบบอื่น เช่น ทำการเกษตร
แบบผสมผสาน แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตและการตลาดร่วมด้วย
4.4 มันสำปะหลัง
1) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมันสำปะหลัง
อยู่ มีเนื้อที่ 9,278 ไร่ มีพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ในเขตอำเภอแก่งคอย และพื้นที่เล็ก ๆ ในเขตอำเภอวิหารแดง
อำเภอเมืองสระบุรี และอำเภอเสาไห้ ตามมาตรการยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง ปี 2564-2567 เน้นให้
เกษตรกรเข้าถึงพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่าง (Cassava Mosaic Disease: CMD) ให้เชื้อแป้งสูง
และมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ไม่ต่ำกว่า 5 ตัน ภายในปี 2567 นั้น ทำให้เน้นมีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
ในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง แต่เน้นการลดต้นทุนผลผลิต เร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาโรคโคนเน่าหัวเน่า
และโรคใบด่างมันสำปะหลัง ส่งเสริมการทำระบบน้ำหยดในพื้นที่ที่มีศักยภาพ การปรับปรุงบำรุงดิน
การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำการวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอ ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูป
มันสำปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูปมันเส้นสะอาด สร้างความร่วมมือระหว่าง
เกษตรกรและโรงงาน เพื่อวางแผนการขุดของเกษตรกร ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วง
อายุ และระยะเวลาที่เหมาะสม ใช้ท่อนพันธุ์ที่ต้านทานโรค และให้ผลผลิตสูง เข้าร่วมโครงการเกษตรแบบ
แปลงใหญ่ และส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น Smart Farmer ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วง
อายุ และระยะเวลาที่เหมาะสม
2) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูก
มันสำปะหลังอยู่ มีเนื้อที่ 28,027 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอมวกเหล็ก อำเภอพระพุทธบาท อำเภอ
แก่งคอย อำเภอวังม่วง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เกษตรกรยังคงปลูกมันสำปะหลังได้ผลดี แต่หลาย
แห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดินหรือดินดาน การสนับสนุนพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น
ในเรื่องของคุณภาพดิน และ ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอส่งเสริมให้มีการใส่ปุ๋ยตามค่า
วิเคราะห์ดิน สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา