Page 39 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระบุรี
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               32







                       มีรสชาติหวานมัน กรอบ อร่อย ในหนึ่งปีจะได้ทานเพียงฤดูเดียว ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
                       เดิมผักหวานป่าเป็นผักพื้นบ้านที่ต้องเข้าป่าไปเก็บมา แต่ด้วยภูมิปัญญาของชาวบ้าน มีเกษตรกรชาว

                       อำเภอบ้านหมอได้นำมาปลูกและพัฒนาด้านการปลูกและการขยายพันธุ์จนประสบความสำเร็จ จึงได้
                       นำกล้ามาปลูกขยายพันธุ์แบบสภาพไร่ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น เมื่อปี 2544 มีประมาณ 500 ไร่ ปัจจุบัน

                       มีมากกว่า 1,000 ไร่ เกษตรกรมากกว่า 340 ครัวเรือน ในตำบลสร่างโคก อำเภอบ้านหมอ ผักหวานป่าที่

                       อำเภอบ้านหมอ ได้รับการอนุรักษ์จากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน ซึ่งพบว่ามีต้นผักหวานป่าที่มีอายุมากกว่า
                       118 ปี การปลูกผักหวานป่า ผักหวานป่า สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่จะ

                       เจริญเติบโตได้ดีและเจริญงอกงามได้เร็วในดินที่มีอินทรียวัตถุตามธรรมชาติ ทนแล้ง ไม่ชอบแดดจัด ไม่ชอบ
                       น้ำมาก ชอบที่โล่ง ดินร่วนปนทรายตามธรรมชาติ ชอบแสงแดดรำไร ชอบร่มไม้ใหญ่ เช่น ต้นมะขามเทศ

                       ต้นสะเดา ต้นตะขบ ต้นแค จะต้องมีไม้พี่เลี้ยงให้ร่มเงาไว้ประมาณ 2 - 3 ปี ในช่วงแรก ชอบอากาศ

                       ร้อน ช่วงเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน จะแตกยอดได้ดี แตกยอดมาก เมื่อถึงฤดูฝนจะหมดยอดและเริ่ม
                       พักต้น เพื่อสะสมอาหารสร้างการเจริญเติบโตทางลำต้น วิธีการปลูกผักหวานป่า จะมีการเตรียมดิน

                       โดยเริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงเดือน เมษายน - พฤษภาคม โดยขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร

                       ผสมวัสดุปลูกโดยใช้ดิน ปุ๋ยคอก แกลบดินที่ย่อยสลายแล้ว อัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร ผสมคลุกเคล้า
                       ให้เข้ากัน แล้วกลบลงในหลุมปลูก การเตรียมวัสดุปลูกที่ดี มีระบบการให้น้ำ และปลูกพืชให้ร่มเงา

                       จะทำให้ต้นผักหวานป่าเจริญเติบโตได้เร็ว  ใช้ระยะปลูก 1x1 เมตร 1.5x1.5 เมตร ซึ่งเป็นการปลูก
                       ระยะชิด เพื่อเพิ่มจำนวนต้น และผลผลิตต่อไร่ ควรมีการตัดแต่งไม่ให้ต้นสูง และสร้างทรงพุ่มเล็ก เพื่อ

                       สะดวกในการเก็บเกี่ยว หรือจะใช้ระยะปลูก 2 - 3x2 - 3 เมตร จะทำให้สะดวกในการดูแลจัดการสวน

                       เมื่อต้นผักหวานอายุ 2 - 3 ปี ก็สามารถให้ผลผลิตเก็บยอดขายได้ ผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 300
                       กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 60 บาท มีการแปรรูปผักหวานป่าให้เป็น

                       ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นน้ำผักหวานป่า ไวน์ผักหวานป่า ชาผักหวานป่า และขนมเปี๊ยะผักหวานป่า เป็นต้น
                       ผักหวานป่าเป็นผักที่ให้โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 2 นอกจากนั้นยัง

                       เป็นสมุนไพร โดยสามารถแก้โรคร้อนใน กระหายน้ำ ต้มดื่มเป็นยาละไข้ และช่วยในการขับถ่าย ตลาด

                       จำหน่ายผักหวานป่า ได้แก่ ตลาดท้องถิ่น ตลาดต่างจังหวัด เช่น จังหวัดอ่างทอง จังหวัดลพบุรี จังหวัด
                       นครสวรรค์ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตลาดกลาง เช่น ตลาดไท ตลาด

                       สี่มุมเมือง เป็นต้น นับว่าเป็นพืชมีอนาคตไกลพืชหนึ่งของจังหวัด ปัจจุบันมีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ใน

                       อำเภอบ้านหมอ แนวทางการส่งเสริม สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ควรมี
                       นโยบายในร่วมกันเพื่อส่งเสริมเป็นกลุ่ม โดยเลือกเกษตรที่ปลูกพืชชนิดเดียวกัน หรือคล้ายกัน ในพื้นที่

                       เดียวกัน เป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ แต่ถ้าเป็นพืชที่มีช่องทางการตลาดที่ดี อย่าง

                       การปลูกผักหวานป่าที่มีการส่งเสริมให้เกษตรกรได้หันมาปลูกอยู่แล้ว ควรมีการถ่ายทอดความรู้ใน
                       เรื่องเทคนิคและวิธีการปลูกให้กับเกษตรกรจากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44