Page 44 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระบุรี
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               37







                       ที่มีความเหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้า
                       โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น


                           4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้

                       ใช้พื้นที่ปลูกข้าว โดยมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง

                       สับปะรด ยางพารา กาแฟ และมะพร้าว เป็นต้น ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ หากในอนาคตข้าวราคาดี

                       เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าวได้เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าวอาจ

                       เป็นเรื่องยาก ดังนั้นอาจส่งเสริมในเรื่องของการทำเกษตรรูปแบบอื่น เช่น ทำการเกษตรแบบ
                       ผสมผสาน ทดแทน


                         4.2  อ้อยโรงงาน


                           1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่

                       มีเนื้อที่ 20 ไร่ มีพื้นที่ปลูกในเขตอำเภอเสาไห้ เท่านั้น

                           2) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกอ้อย
                       โรงงานอยู่ มีเนื้อที่ 126,428 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอวังม่วง อำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย อำเภอ

                       หนองโดน อำเภอพระพุทธบาท อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอเสาไห้ เกษตรกรยังคงปลูกอ้อย

                       โรงงานได้ผลดี แต่ยังมีหลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก การสนับสนุนด้าน

                       การชลประทาน พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพดิน และการบริหารจัดการน้ำ

                       ให้มีเพียงพอและเหมาะสมต่อการเพาะปลูก สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการ

                       พื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของเสียจากโรงงานน้ำตาล
                       และการนําของเสียจากโรงงานน้ำตาลไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินในไร่อ้อย เพื่อเพิ่มผลผลิต และลด

                       ต้นทุนให้แก่่เกษตรกรชาวไร่่อ้อยโดยไม่่มีผลเสียต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และชุมชนชาวไร่อ้อย

                           3) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ

                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้

                       ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่
                       เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น จัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน

                       โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน

                           4) พื้นที่ที่มีศักยภาพ หรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยโรงงานแต่เกษตรกร หันมา

                       ปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ไม้ผล ไม้ยืนต้น มันสำปะหลัง หรือพืชไร่อื่น ๆ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49