Page 43 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระบุรี
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               36







                       4    แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                           4.1  ข้าว

                           1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 327,843 ไร่

                       อยู่ในเขตอำเภอหนองแค อำเภอบ้านหมอ อำเภอหนองโดน อำเภอเสาไห้ อำเภอหนองแซง อำเภอดอนพุด

                       อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอวิหารแดง และอำเภอพระพุทธบาท
                       คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิต

                       ข้าวที่สำคัญของจังหวัด โดยเฉพาะ 7 อำเภอที่เป็นแหล่งผลิตข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ ซึ่งเป็นข้าวที่ปลูก

                       เฉพาะถิ่นและได้รับ GI หรือข้อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และมีการบริหารจัดการน้ำชลประทาน การจัดการ

                       ดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นการเกษตรแบบแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรด้าน

                       การตลาดในและต่างประเทศ การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตร

                       อินทรีย์ และ GAP และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้

                       เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำ
                       ว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หาก

                       ข้าวราคาไม่ดีถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่าในอนาคตจะได้กลับมาทำนาได้อีก


                                   2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่มาก

                       ถึง 75,552  ไร่ อยู่ในเขตอำเภอวิหารแดง อำเภอหนองแค  อำเภอแก่ง และอำเภอเมืองสระบุรี

                       ตามลำดับ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกข้าวได้ผลดี แต่หลายแห่ง
                       ประสบปัญหาขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น

                       ชลประทาน จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นจะ

                       ลดลง ส่วนใหญ่พื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นยำหรือ

                       เกษตรทฤษฎีใหม่อยู่แล้ว ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควร

                       ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีและต้องการปรับเลี่ยนการชนิดพืชควรเป็นพืชไร่

                       เพื่อที่ว่าในอนาคตยังสามารถกลับมาทำนาได้อีก

                           3) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน

                       ปลูกข้าวอยู่ มีประมาณกว่าล้านไร่ ซึ่งประสบปัญหาซ้ำซากน้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ กระทรวง

                       เกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม โดย

                       สนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48