Page 45 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระบุรี
P. 45
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
38
ควรสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการบริหารจัดการพื้นที่ และการปรับปรุงบำรุงดินไม่ให้เสื่อม
โทรม หากเกษตรกรต้องการกลับมาใช้พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานเหมือนเดิม จะได้ไม่ไม่ต้องมีต้นทุนการผลิต
สูงในการปรับปรุงบำรุงดิน
4.3 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์อยู่มีเนื้อที่ 1,652 ไร่ มีพื้นที่ปลูกในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบ้านหมอ และ
อำเภอพระพุทธบาท ตามลำดับ คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้
ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการระบบ
น้ำ การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำ
มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ GAP และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง และภาครัฐควรให้
ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร โดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากราคาไม่ดีหรือ
ประสบปัญหาโรคและแมลงรบกวน และเกษตรกรต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเปลี่ยนเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่า
ในอนาคตจะได้กลับมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้อีก
2) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ มีเนื้อที่ 117,359 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอพระพุทธบาท อำเภอมวกเหล็ก
อำเภอแก่งคอย และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เกษตรกรยังคงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ผลดี แต่หลายแห่ง
ประสบปัญหาขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการระบบน้ำ เช่น
ระบบชลประทาน แหล่งน้ำและระบบเหมือง ฝาย เป็นต้น จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้
ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับ
การเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นยำหรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และภาครัฐควรให้ความรู้
ความเข้าใจกับเกษตรกร โดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น ทั้งนี้หากข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์ราคาไม่ดี และต้องการปรับเลี่ยนการผลิตควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่าในอนาคตยังสามารถกลับมาปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ดังเดิมได้อีก
3) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบัน
เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ
ผลผลิตต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการ
ปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความ