Page 5 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 5

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   phosphorus increased between 5.4-16.7 milligrams per kilogram, extr. potassium increased

                   between 71.0-141.0 milligrams per kilogram, extr. calcium increased between 243.7-448.3
                   milligrams per kilogram and extr. magnesium in the soil accounted for 104.9-183.6 milligrams
                   per kilogram. The experiment results showed that there is no statistical significant between
                   biochar and compost application at different rates and non biochar and non compost. Also

                   at  different  rate  of  biochar  and  compost  application  had  a  tendency  to  increase
                   productivity of maize yield whereby using biochar for 2,000 kilogram per rai resulted in
                   highest  yields  of  maize  equaling  to  1,120.33  kilograms  per  rai which  did  not  have  any
                   statistically significant.


                   Keyword : Biochar, Maize


                                                       หลักการและเหตุผล

                          ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Maize หรือ Corn, Zea mays L.) เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประทเศไทย ผลผลิตที่ได้

                   ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ที่มีความต้องหารใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ตามการขยายตัวของ
                   อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ ในขณะที่ผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ จึงต้องนำเข้าจาก
                   ต่างประเทศ โดยในปี 2562 ประเทศไทยนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปริมาณ 681,458.60 ตัน มูลค่ารวม 4,772.17
                   ล้านบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2564) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จึงจัดได้ว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 3
                   รองจากข้าวสาลี และข้าว โดยที่จังหวัดน่าน มีสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูงชัน 85 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่จังหวัดน่าน
                   การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก่อให้เกิดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ปัญหาอุทกภัย
                   อันเนื่องมาจากการมีพื้นที่ป่าลดลง ปัญหาหมอกควันจากการเผาเตรียมพื้นที่ และปัญหาการใช้สารเคมีในการเตรียม
                   พื้นที่ ได้แก่ ยาฆ่าหญ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ เกิดสารเคมีตกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำ

                   น่าน ซึ่งเป็นหนึ่งของแม่น้ำสายหลักของประเทศ
                          การคาดคะเนของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแห่งสหประชาชาติ
                   (IPCC) และจากการคาดคะเนปริมาณน้ำฝนในอนาคตของประเทศไทยคาดการณ์ว่า ภาคเหนือจะมีปริมาณน้ำฝน
                   เพิ่มขึ้น แต่จำนวนวันฝนตกรวมรายปีลดลง ส่งผลให้ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลง
                   สภาพภูมิอากาศนำมาซึ่งความแปรปรวนของสภาพอากาศซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจมีความถี่มากขึ้นและความรุนแรงมาก
                   ขึ้นในภาคเหนือของประเทศไทย
                          การใช้เทคโนโลยีถ่านชีวภาพกักเก็บคาร์บอนลงดิน  เป็นการตัดวงจรการกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศของ
                   คาร์บอนไดออกไซด์ วิธีนี้กำลังได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติให้เป็นเครื่องมือลดภาวะโลกร้อนและเป็นกลไก
                   ทางเศรษฐกิจต่อจากพิธีสารเกียวโต สำหรับช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีแหล่งทุนในการทำโครงการกลไกการพัฒนา

                   ที่สะอาด ด้วยการนำมวลชีวภาพซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรมาแยกสลายด้วยความร้อนแทนการเผาทิ้ง
                   เพื่อแยกคาร์บอนจากมวลชีวภาพมาอยู่ในรูปของถ่านชีวภาพ เมื่อใส่ถ่านชีวภาพลงในดิน จะสามารถกักเก็บคาร์บอน
                   ซึ่งมีสภาพเสถียรให้อยู่ในดินได้เป็นเวลายาวนาน  นอกจากนั้นถ่านชีวภาพยังช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น เพิ่มผลผลิตทาง
                   การเกษตร ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้รายได้มีโอกาสเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยถ่านชีวภาพได้รับความสนใจในแง่ของ
                   ความเป็นไปได้ในการนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยการใช้เป็นเครื่องมือกัก
                   เก็บคาร์บอนลงสู่ดิน โดยเฉพาะดินในภาคเกษตรกรรม ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่มีศักยภาพประเทศหนึ่ง
                   เนื่องจากมีผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์ม และข้าวโพด การเก็บเกี่ยวและ

                   แปรรูปผลิตผลการเกษตรเหล่านี้ มีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรหรือชีวมวลจำนวนมาก
                          งานวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการ
                   เปลี่ยนแปลงสมบัติของดินจากการใช้ถ่านชีวภาพ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10