Page 6 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                          วัตถุประสงค์


                   1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินจากการใช้ถ่านชีวภาพ
                   2. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการใช้ถ่านชีวภาพ


                                                        การตรวจเอกสาร

                          ถ่านชีวภาพ (Biochar) มีลักษณะเหมือนถ่านหินที่มีรูพรุน ซึ่งสลารเหล่านั้นอาจจะได้มาจากซากต้นไม้ การ

                   นำเอาซากพืชเหล่านี้ใส่เข้าไปในเครื่องที่มีลักษณะเหมือนถังแปดเหลี่ยมที่สามารถให้ความร้อนด้วยอุณหภูมิสูงมาก
                   สลารเหล่านั้นจะถูกให้ความร้อนผ่านกระบวนการย่อยสลาย ด้วยการให้ความร้อนทางเคมี เรียกว่า ไพโรไลซิส
                   (Pyrolysis) หลังจากผ่านกระบวนการดังกล่าวภายในไม่กี่ชั่วโมง สลารจากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะถูกเปลี่ยนไปเป็นวัตถุ
                   ที่มีลักษณะกลมเหมือนถ่านหินซึ่งชาวไร่สามารถใช้สสานเหล่านี้เป็นปุ๋ย ปัจจุบันถ่านชีวภาพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่
                   ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างพลังงานผลิตภัณฑ์อาหารและการลดภาวะโลกร้อน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่ม
                   การย่อยสลายและแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของสารชีวภาพขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและการช่วยให้พืชดูดก๊าซ
                   คาร์บอนไดออกไซด์ อย่างช้า ๆ ในขณะที่พืชสังเคราะห์แสง (Lehmann, 2007)

                          ประโยชน์ของถ่านชีวภาพนั้น จะช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นการบรรเทาการเปลี่ยนแปลง
                   ภูมิอากาศ เนื่องจากถ่านชีวภาพสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในระยะยาวได้ด้วยการกักเก็บ
                   คาร์บอนในดิน ช่วยปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากเมื่อใส่ถ่านชีวภาพลงดินจากลักษณะความ
                   เป็นรูพรุนของถ่านชีวภาพจะช่วยกักเก็บน้ำและธาตุอาหารในดิน ทำให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นส่งผลให้ดินมีความอุดม
                   สมบูรณ์และผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยจากการชะล้าง เนื่องจากการใส่ถ่านชีวภาพจะเพิ่ม
                   ความสามารถในการกักเก็บธาตุอาหารในดิน ทำให้ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเกษตร
                   และส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ นอกจากนั้นแล้วยังช่วยผลิตพลังงานทดแทนซึ่งเป็น
                   พลังงานทางเลือก เนื่องจากกระบวนการผลิตถ่านชีวภาพจากมวลชีวภาพเป็นการแยกสลายด้วยความร้อน จะทำให้
                   พลังงานชีวภาพซึ่งสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนในการขนส่งและในระบบอุตสาหกรรมได้ อาทิเช่น เชื้อเพลิง
                   ชีวภาพ และยังสามารถได้รับการพัฒนาเพื่อการพาณิชย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ผลิตกระแสไฟฟ้า การสกัดสารชีวภาพ

                   และเป็นองค์ประกอบของยา เป็นต้น และช่วยในกระบวนการจัดการเศษวัสดุอินทรีย์ได้ เนื่องจากการใช้เทคโนโลยี
                   ถ่านชีวภาพมีศักยภาพในการกำจัดของเสียโดยเฉพาะการกำจัดกลิ่น ทำให้เกิดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
                   (Lehmann and Joseph, 2009)
                          นอกจากนั้นแล้วกระบวนการเผาถ่านชีวภาพสามารถผลิตน้ำส้มควันไม้ที่มีคุณภาพ ปัจจุบันเกษตรกรและ
                   หน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลพลอยได้ของน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตได้สามารถนำมาใช้ในการ
                   ไล่แมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า กระบวนการผลิตถ่าน
                   ชีวภาพโดยทั่วไปมีกระบวนการทางเคมีที่สำคัญ 3 กระบวนการ คือ กระบวนการแรกเป็นการไล่ความชื้น

                   (Dehydration) กระบวนการที่สอง เป็นกระบวนการที่ไม่ใช้ออกซิเจนหรือใช้น้อยมาก และกระบวนการสุดท้ายเป็น
                   กระบวนการทำถ่านให้บริสุทธิ์ (Refinement) มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 500-600 องศาเซลเซียล (สถาบันวิจัยและพัฒนา
                   แห่งมหาวิทยาเกษตรศาสตร์, 2551) ปฏิกิริยาทั้งสามขั้นตอนสามารถเขียนได้ดังสมการข้างล่างนี้ (Demirbas, 2004)
                                 Biomass               →   Water + Unreacted residue
                                 Unreacted residue     →   (Volatile + Gases) 1 + (Char) 1

                                 (Char) 1              →       (Volatile + Gases) 2 + (Char) 2
                          ระหว่างกระบวนการไพโรไลซิสชีวภาพจะค่อย ๆ สูญหายไป (ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารอินทรีย์ระเหยได้)
                   ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของสุพรชัย (2551) ที่กล่าวว่ากระบวนการสลายตัวของสารอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น เซลลูโลส
                   เฮมิเซลลูโลสและลิกนินในเนื้อไม้จะเริ่มสลายตัวที่อุณหภูมิ 310 องศาเซลเซียล และเสร็จสิ้นสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 400
                   องศาเซลเซียล ซึ่งสังเกตได้จากมีควันออกมาที่ปล่องควัน โดยควันที่ออกมาจะประกอบด้วยสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11