Page 4 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 4

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   ชื่อแผนงานวิจัย/โครงการวิจัย (ภาษาไทย) ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพด

                   เลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเท ในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน
                   (ภาษาอังกฤษ) Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil
                   Series Group No.55, Nan Province.
                   กลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง Soil Series Group No.55, Wang Saphung series: Ws

                   สถานที่ดำเนินการ บ้านโป่งคำ หมู่ที่ 5 ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน
                   ผู้ร่วมดำเนินการ             นายดนัย พรอำนวยลาภ           Mr. Danai Pornamnuaylap
                                                นายวิวัฒน์ สวยสม             Mr. Wiwat Suaysom


                                                      บทคัดย่อ (ภาษาไทย)


                          การศึกษานี้เป็นการศึกษาผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่
                   ลาดเท ในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน ดำเนินการที่บ้านโป่งคำ หมู่ที่ 5 ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน
                   ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2563 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)
                   จำนวน 3 ซ้ำ 6 ตำรับการทดลอง ได้แก่ แปลงควบคุม (T1) การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ (T2) การใช้
                   ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ (T3) การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ (T4) การใช้ปุ๋ยหมัก
                   อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ (T5) และการใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ (T6) ผลการทดลอง พบว่า หลังสิ้นสุด
                   การทดลอง สมบัติของดินมีการเปลี่ยนแปลง โดยค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) เพิ่มขึ้นในทุกตำรับการทดลอง โดยมี
                   ค่าอยู่ระหว่าง 5.1-5.4 ปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 2.41-2.92 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ใน

                   ดินเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 5.4-16.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 71.0-141.0
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มสูงขึ้นอยู่ระหว่าง 243.7-448.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ
                   แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มสูงขึ้นอยู่ระหว่าง 104.9-183.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จากค่าความสูงของ
                   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้ง 2 ปี พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพและปุ๋ยหมักในอัตราต่าง ๆ และไม่ใช้ถ่านชีวภาพไม่ทำให้ความ
                   สูงแตกต่างกันทางสถิติ สำหรับผลผลิตที่ได้ทั้ง 2 ปี พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพและปุ๋ยหมักในอัตราต่าง ๆ มีแนวโน้มทำ
                   ให้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น โดยการใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มี
                   ผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 1,120.33 กิโลกรัมต่อไร่ (ในฤดูปลูกที่ 2) แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทุก
                   ตำรับการทดลอง


                   คำสำคัญ : ถ่านชีวภาพ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


                                                            Abstract

                          This study was effect of biochar on the growth and yield of maize on sloping land in

                   soil series group No.55, Nan province. The location was conducted in Pong Kham Baan, Moo
                   5,  Du  Phong,  Santisuk  district,  Nan  province  between  2019-2020.  Radomized  Complete
                   Block  Design  (RCBD) was  applied  for  3  replications  and  6  treatments.  Treatments  were
                   control plots (T1), 500 kilograms per rai of biochar application (T2), 1,000 kilograms ton per

                   rai of biochar application (T3), 2,000 kilograms tons per rai of biochar application (T4), 500
                   kilograms  per  rai  of  compost  application  (T5),  1,000  kilograms  ton  per  rai  of  compost
                   application  (T6).  After  experiment,  results  showed  that  soil  properties  had  changed  as

                   follows: with applying biochar and compost the soil had the pH value between 5.1-5.4; the
                   organic  matter  percentage  increased  and  accounted  for  2.41-2.92  percentage;  avail.
   1   2   3   4   5   6   7   8   9