Page 12 - ผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อขนาดและน้ำหนักของทะลายของปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดจังหวัดพัทลุง
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
8
แมกนีเซียมตองการไมมากนัก และพบวาปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนจะเหลือตกคางอยูในลําตน (สวนเหนือ
ดิน) เปนสวนใหญ สวนโพแทสเซียมจะติดไปกลับผลผลิตปาลมน้ํามัน โดยเฉลี่ย ปริมาณธาตุอาหารที่ติดไปกับ
ผลปาลมน้ํามัน 1 ตันของทะลายสด คือ ไนโตรเจน 2.94 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 0.44 กิโลกรัม โพแทสเซียม
3.71 กิโลกรัม แมกนีเซียม 0.77 กิโลกรัม แคลเซียม 0.81 กิโลกรัม และโบรอน 2.51 กิโลกรัม ในขณะที่
ปริมาณธาตุอาหารที่สะสมอยูในสวนเหนือดินของปาลมน้ํามันที่อายุ 20 ป มีไนโตรเจน 3.24 กิโลกรัมตอตน
ฟอสฟอรัส 0.47 กิโลกรัมตอตน โพแทสเซียม 1.51 กิโลกรัมตอตน แมกนีเซียม 1.79 กิโลกรัมตอตน แคลเซียม
0.81 กิโลกรัมตอตน ดังนั้นถาเก็บผลผลิตปาลมน้ํามันไดมากแสดงวามีธาตุอาหารสูญเสียไปจากดินมาก
จําเปนตองเพิ่มธาตุอาหารลงดินใหเพียงพอตอความตองการของปาลมน้ํามัน (ยงยุทธ, 2547 และเกริกชัย,
2547)
ธาตุอาหารที่จําเปนสําหรับปาลมน้ํามัน
ธาตุไนโตรเจน มีหนาที่สําคัญในกระบวนการเมทาโบลิซึมของพืชเนื่องจาก เปนสวนประกอบที่สําคัญ
ของกรดอะมิโน,โปรตีน,คลอโรฟลลและเอนไซมบางชนิด เปนตัวกระตุนใหเกิดการพัฒนาของเซลลและเนื้อเยื่อ
ที่มีชีวิต ทําใหพืชมีสีเขียวและมีความแข็งแรง
ธาตุฟอสฟอรัส เปนสวนประกอบของกรดนิวคลีอิคและนิวคลีโอโปรตีนซึ่งมีความสําคัญตอยีนต,การ
แบงเซลลและการสรางเซลลในพืช เปนตัวถายทอดพลังงานระหวางสารตอสารในระบบตางๆเชน การ
สังเคราะหแสง การหายใจ การเคลื่อนยายสาร ชวยในการเจริญเติบโตของราก จําเปนสําหรับการออกดอก ติด
เมล็ด และการพัฒนาของเมล็ดหรือผล
ธาตุโพแทสเซียม เปนองคประกอบสําคัญของเอนไซมที่ชวยในการสังเคราะหแสง การสรางโปรตีนแปง
ชวยในการลําเลียงแปงและน้ําตาล ควบคุมและรักษาระดับความเปนกรดดาง ควบคุมการเปด-ปดปากใบชวย
กระตุนการทํางานของเอนไซมบางชนิด กระบวนการเมทาโบลิซึมของคารโบไฮเดรตและโปรตีน ชวยใหทุกสวน
ของตนพืชและระบบรากแข็งแรง ทนทานตอโรคแมลง ชวยเพิ่มขนาดผลผลิต เมล็ด และปรับปรุงคุณภาพของ
ผลผลิต
ธาตุแมกนีเซียม เปนสวนประกอบของคลอโรฟลลซึ่งสําคัญสําหรับการสังเคราะหแสง เปน
สวนประกอบของระบบเอนไซมที่เกี่ยวของกับการสรางแปง สรางกรดนิวคลีอิค เปนตัวกระตุนการทํางานของ
เอนไซมที่เกี่ยวของกับการหายใจของเซลลและเมทาโบลิซึมของคารโบไฮเดรท ชวยเสริมสรางการดูดใชและ
ลําเลียงธาตุฟอสฟอรัส ชวยเคลื่อนยายน้ําตาลในพืช
ธาตุโบรอน มีความสัมพันธกับเมทาโบลิซึมของคารโบไฮเดรทและกรดนิวคลีอิค การสรางผนังเซลล
การแบงเซลล เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนยายแปงและน้ําตาลผานผนังเซลล จําเปนสําหรับการสราง
โปรตีน ควบคุมสัดสวนระหวางโพแทสเซียมและแคลเซียม เพิ่มหรือสงเสริมการใชประโยชนของธาตุอื่นๆ เชน
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม ควบคุมการทํางานของธาตุหลายชนิดและควบคุมการใชน้ําของพืช (กอง
ปฐพีวิทยา, 2543) การใชปุยชีวภาพจะชวยสงเสริมสมบัติทางกายภาพ ทําใหดินเหนียว มีความรวนซุย ระบาย
น้ํา อากาศไดดีขึ้น ปรับสภาพทางเคมีโดยลดความเปนกรดเปนดางของดิน ลดความเปนพิษของโลหะหนัก ชวย
ปลดปลอยธาตุอาหารใหเปนประโยชนตอพืช ชวยเก็บธาตุอาหารไวในดิน และดินที่มีอินทรียวัตถุมากพอจะ
ตานทานการชะลางพังทลายของดินได (กรมวิชาการเกษตร, 2551)
สําหรับอัตราปุยที่ใชและวิธีการใสจะแตกตางกันไปตามอายุของปาลมน้ํามัน ดังนี้
ปาลมน้ํามันอายุ 1 ป ใสปุยไนโตรเจน (แอมโมเนียมซัลเฟต) อัตรา 1.2 กิโลกรัมตอตน ปุยฟอสฟอรัส
ในรูปหินฟอสเฟต อัตรา 1.3 กิโลกรัมตอตน ปุยโพแทสเซียมคลอไรด 0.5 กิโลกรัมตอตน แมกนีเซียมคลอไรด
0.1 กิโลกรัมตอตน และโบเรท 30 กรัมตอตน โดยแบงใสปุยไนโตรเจน 5 ครั้ง และโพแทสเซียมคลอไรด 3 ครั้ง