Page 15 - ผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อขนาดและน้ำหนักของทะลายของปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดจังหวัดพัทลุง
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          11

                  ปริมาณฟอสเฟตที่ละลายออกมาไดนอยจุลินทรียกลุมนี้สามารถเพิ่มความเปนประโยชนของฟอสฟอรัสจากหิน

                  ฟอสเฟตใหเปนประโยชนไดเชน Bacillus sp.,pseudomonas sp.,Aspergillus sp. เปนตน (กรมวิชาการ
                  เกษตร, 2548) และการที่จะใหหินฟอสเฟตละลายไดดีจะตองทําใหเกิดสภาพกรดซึ่งจุลินทรียเหลานี้จะผลิต
                  กรดออกมาละลายฟอสฟอรัสใหอยูในรูปที่เปนประโยชนตอพืชได (มุกดา, 2545)

                         จุลินทรียที่ใหธาตุโพแทสเซียมเปนจุลินทรียที่ปลดปลอยกรดอินทรียเชนกรดแลคติค กรดซิตริค กรด
                  ออกซาลิค เปนตน หรือกรดอนินทรีย เชน กรดคารบอนิค กรดไนตริค และกรดซัลฟูริค เปนตน ชวยละลายแร
                  และวัตถุตนกําเนิดดินที่มีโพแทสเซียมเปนองคประกอบ จุลินทรียที่สามารถปลดปลอยกรดออกมาละลายแร
                  อะลูมิโนซิลิเกต เชน Bacillus sp. Pseudomonas sp. Aspergillus sp และ Penicilium sp. โดยละลายได
                  จากแรในกลุมไมกาและกลุมเฟลดสปารใหอยูในรูปที่พืชสามารถนําไปใชประโยชนได (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)

                  หรือการที่จะทําใหโพแทสเซียมอยูในลักษณะที่นําไปใชไดมี 3 วิธีคือการสลายทางกายภาพ ทางเคมีและทาง
                  อินทรีย ซึ่งทําไดโดยการใชจุลินทรียพวกแบคทีเรียเขาชวยยอยสลายจะทําใหพืชสามารถนําโพแทสเซียมไป
                  ใชไดอยางมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทําใหพืชไร พืชสวนและไมผลมีคุณภาพผลผลิตที่ดีขึ้น (มุกดา, 2545)

                         จุลินทรียที่ใหธาตุอื่นๆเชน ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ไดแก เหล็ก สังกะสี ซึ่งจะมีอยูในดิน
                  ในสภาพที่พืชนําไปใชประโยชนไมได การใชจุลินทรียเขาชวยยอยสลายสามารถทําใหไดธาตุอาหารที่มีในดิน
                  เหลานี้มาเปนประโยชนแกพืชไดเพิ่มขึ้น จุลินทรียพวก Silicate bacteria สามารถชวยใหพืชนําซิลิเกตไปใชได
                  แรธาตุที่มีอยูในดินจะสามารถถูกทําลายโดยกรดที่เกิดจากการหมักของจุลินทรียได (มุกดา, 2545)

                         จุลินทรียที่สรางสารกระตุนการเจริญเติบโตหรือฮอรโมนพืชคือจุลินทรีย Azotobacter
                  sp.,Azospirillun sp. และ.Bacillus sp. ฮอรโมนที่สราง ไดแก ออกซิน มีหนาที่ เกิดการขยายตัวของเซลล
                  การติดผลมากขึ้น ปองกันการรวงของผลและใบ ชวยกระตุนการเจริญของรากขนออนและชวยเพิ่มพื้นที่ผิวราก
                  ทําใหความสามารถในการดูดน้ําธาตุอาหารเพิ่มมากขึ้น เปนตน จิบเบอเรลลิน มีหนาที่ กระตุนการเจริญเติบโต

                  ของพืชทั้งตน กระตุนการงอกของเมล็ดและ ทําใหเกิดการแทงชอดอก เปนตน และไซโตไคนิน มีหนาที่ กระตุน
                  การแบงเซลล ชะลอกระบวนการเสื่อมสลาย สงเสริมใหพืชมีประสิทธิภาพในการเคลื่อนยายอาหารจากรากสู
                  รากพืช เปนตน
                         วัสดุขยายเชื้อปุยชีวภาพ พด.12 (วัสดุสําหรับการขยายเชื้อ)

                                1 ปุยหมัก                          300   กิโลกรัม
                                2 รําขาว                           3       กิโลกรัม
                                3 ปุยชีวภาพ พด.12                  100   กรัม (1 ซอง)

                         วิธีการขยายเชื้อ
                         1. ผสมปุยชีวภาพ พด.12 และรําขาวน้ํา 1 ปบ (20 ลิตร) คนใหเขากันนาน 5 นาที
                         2. รดสารละลายปุยชีวภาพ พด.12 ลงบนกองปุยหมักและคลุกเคลาใหเขากันปรับความชื้นใหได 70
                  เปอรเซ็นต
                         3. ตั้งกองปุยหมักเปนรูปสี่เหลี่ยมผืนผาใหมีความสูง 50 เปอรเซ็นต และใชวัสดุคลุมกองปุยเพื่อรักษา

                  ความชื้น
                         4. กองปุยหมักไวในที่รมเปนระยะเวลา 4 วัน แลวจึงนําไปใช
                         การใชปุยชีวภาพ พด.12 มีประโยชนในการลดปริมาณการใชปุยเคมีลงได 25-30 เปอรเซ็นต เพิ่ม

                  ความเปนประโยชนของฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในดิน เพิ่มประสิทธิภาพการดูดใชธาตุอาหารของพืช ชวย
                  สรางสมดุลของธาตุอาหารพืช ชวยเพิ่มผลผลิตพืชและลดตนทุนการผลิต (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20