Page 16 - ผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพและลดอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       12


                       มีระบบควบคุมน้้าให้พอเพียงตลอดอายุการเจริญเติบโตของปาล์มน้้ามันมีระบบการให้น้้าที่เหมาะสม
               เช่นระบบน้้าหยด หรือระบบฉีดน้้าฝอย จะช่วยเพิ่มความชื้นในดินให้เหมาะสมตลอดปี

                       การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ช่วยรักษาความชื้นในดินและสับกลบเพิ่มธาตุ
               อาหารให้แก่พืชอีกด้วย (ธีระและคณะ,2548)
                       ปุ๋ยชีวภาพ เป็นวัสดุหรือสารที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตเป็นตัวด้าเนินกิจกรรม ให้ธาตุอาหาร
               แก่พืชหรือท้าให้ธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถน้ามาใช้ประโยชน์ได้ เปลี่ยนเป็นรูปที่เป็นประโยชน์

               ต่อพืชได้เพิ่มขึ้น เช่น ไรโซเบียมสร้างปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่พืชตระกูลถั่ว จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตช่วยท้าให้
               หินฟอสเฟตหรือฟอสเฟตที่ถูกยึดตรึงอยู่ในดินให้อยู่ในรูปที่พืชน้าไปใช้ในการเจริญเติบโตได้เพิ่มขึ้น
               (กรมวิชาการเกษตร, 2551) หรือเป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีคุณสมบัติพิเศษ สร้างธาตุ
               อาหารพืชได้เองหรือสามารถเปลี่ยนธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้มาอยู่ในรูปที่พืช

               สามารถใช้ประโยชน์ได้ (ทัศนีย์และคณะ, 2550) หรือการน้าจุลินทรีย์มาใช้ในการปรับปรุงดินทางชีวภาพ
               ทางกายภาพ ทางชีวเคมีและการย่อยสลายสารอินทรียวัตถุ พืช จากอินทรีย์หรือจากอนินทรียวัตถุ (มุกดา,
               2545)
                       ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เป็นปุ๋ยที่ได้จากการน้าจุลินทรีย์ที่มีชีวิตสร้างอาหาร ธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุ

               อาหารเป็นประโยชน์กับพืชมาใช้ปรับปรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพและทางชีวเคมี ท้าให้ดินมีความอุดม
               สมบูรณ์เพิ่มมากขึ้นและสร้างฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุ
               ไนโตรเจน จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุโพแทสเซียมและจุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนและสาร

               เสริมการเจริญเติบโต
                       จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุไนโตรเจนมี 2 กลุ่มคือจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับพืชได้แก่ไรโซเบียมเป็นจุลินทรีย์ที่มี
               ประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูงมากสามารถทดแทนไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีได้โดยให้กับพืชอาศัยมากกว่า
               50เปอร์เซ็นต์ (กรมวิชาการเกษตร, 2548) และจุลินทรีย์ที่อยู่อย่างอิสระได้แก่ Azotobecter
               sp.,Azospirillum sp.และBacillus sp. เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศและเปลี่ยนให้อยู่ในรูป

               แอมโมเนียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชโดยกิจกรรมเอนไซม์ไนโตรจีเนส (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                       จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสมี 2 กลุ่มคือจุลินทรีย์ที่ช่วยดูดซับธาตุฟอสฟอรัสให้กับพืช ได้แก่
               ไมโครไรซ่าซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในรากพืชแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันมี 2 ชนิดคือ วี-เอไมโครไรซ่าและ

               เอ็คโคไมโครไรซ่าเป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวรากและชอนไชเข้าไปในดินได้สัมผัสกับธาตุฟอสฟอรัสและจะ
               ดูดธาตุนี้โดยตรงแล้วถ่ายทอดต่อไปยังรากพืชซึ่งจะช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้อย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์
               (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) นอกจากนี้เชื้อราไมโคไรซ่ายังช่วยป้องกันไม่ให้ธาตุฟอสฟอรัสที่ละลายออกมาถูก
               ตรึงโดยปฏิกิริยาทางเคมีของดินด้วยเพราะเชื้อรานี้จะช่วยดูดซับเก็บไว้ในโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า อาบัสกูล

               และเวสิเคิลที่อยู่ในเซลล์พืช (มุกดา, 2545) จุลินทรีย์ที่ละลายสารประกอบฟอสเฟต โดยทั่วไปประเทศไทยมี
               ปริมาณฟอสเฟตที่ละลายออกมาได้น้อยจุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสจากหิน
               ฟอสเฟตให้เป็นประโยชน์ได้เช่น Bacillus  sp.,pseudomonas  sp.,Aspergillus  sp. เป็นต้น (กรมวิชาการ
               เกษตร, 2548) และการที่จะให้หินฟอสเฟตละลายได้ดีจะต้องท้าให้เกิดสภาพกรดซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะผลิต

               กรดออกมาละลายฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ (มุกดา, 2545)
                       จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุโพแทสเซียมเป็นจุลินทรีย์ที่ปลดปล่อยกรดอินทรีย์เช่นกรดแลคติค กรดซิตริค กรด
               ออกซาลิค เป็นต้น หรือกรดอนินทรีย์ เช่น กรดคาร์บอนิค กรดไนตริค และกรดซัลฟูริค เป็นต้น ช่วยละลายแร่
               และวัตถุต้นก้าเนิดดินที่มีโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบ จุลินทรีย์ที่สามารถปลดปล่อยกรดออกมาละลายแร่

               อะลูมิโนซิลิเกต เช่น Bacillus sp. Pseudomonas sp. Aspergillus sp และ Penicilium sp. โดยละลายได้
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21