Page 15 - ผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพและลดอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       11


                       ปาล์มน้้ามันอายุ 6 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (แอมโมเนียมซัลเฟต) อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ปุ๋ย
               ฟอสฟอรัสในรูปหินฟอสเฟต อัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 4 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี

               แมกนีเซียมคลอไรด์ 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี และโบเรท 80 กรัมต่อต้นต่อปี
                       อย่างไรก็ตาม อัตราปุ๋ยที่ใส่นั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหารต่างๆในดินด้วย โดยท้าการวิเคราะห์ดิน
               ก่อนปลูกเพื่อหาปริมาณธาตุอาหารในดิน ทราบปริมาณธาตุอาหารที่ปาล์มน้้ามันต้องการก็สามารถค้านวณหา
               ปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ได้ในอัตราที่เหมาะสม

                       ส้าหรับวิธีการและระยะเวลาในการใส่ปุ๋ยนั้น ปาล์มน้้ามันที่มีอายุ 1 ปี หว่านสม่้าเสมอภายในบริเวณ
               รัศมีใกล้เคียงกับทรงพุ่ม โดยในปีแรกแบ่งใส่ 4-5 ครั้ง/ปี ตั้งแต่ปีที่ 2-3 แบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี ในช่วงต้นฝน กลาง
               ฝน และปลายฝน แต่ปาล์มน้้ามันที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป หว่านปุ๋ยสม่้าเสมอบริเวณห่างจากโคนต้น 50 ซม.จนถึง
               รัศมีรอบทรงพุ่ม แบ่งใส่ 2 ครั้ง คือช่วงต้นฝนและปลายฝน (ธีระและคณะ,2546)

                       การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ช่วยเพิ่มไนโตรเจนให้แก่ดิน 30-40 กก./ไร่/ปี ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี
               และลดต้นทุนการผลิตด้วย การน้าทางใบมากองไว้ระหว่างแถวปลูกทุกปี เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุและ
               ไนโตรเจนอีกวิธีหนึ่ง
                       การให้น  า ปาล์มน้้ามันเป็นพืชที่ต้องการน้้ามากและสม่้าเสมอตลอดช่วงการเจริญเติบโต ในสภาพ

               พื้นที่ที่แห้งแล้งยาวนาน ถ้ามีแหล่งน้้าเพียงพอควรมีการให้น้้าเสริมในฤดูแล้ง ในปริมาณ 150-200 ลิตรต่อ
               ต้นต่อวัน
                       การดูแลรักษา

                       1.ตัดแต่งทางใบ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงปีที่ 6 ควรไว้ทางใบ 7-8 รอบ (56-64 ทางใบ) ต้นที่โตเต็มที่
               ควรไว้ทางใบ 4.5-6.5 รอบ (36-48 ทางใบ) ไม่ควรตัดแต่งทางใบจนกว่าจะถึงช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควร
               ตัดทางใบให้เหลือรองรับทะลายปาล์มน้้ามัน 2 ทาง (ชั้นล่างจากทะลาย) และทางใบที่ตัดแล้ว ควรน้ามาเรียง
               กระจายแถวเว้นแถว และวางสลับแถวกันทุกๆ 4-5 ปี เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กระจายทั่วแปลง การใช้ทะลาย
               เปล่าคลุมดิน ทะลายเปล่าที่น้ามาจากโรงงาน ควรน้ามากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงน้าไปวางกระจาย

               ไว้รอบโคนต้นโดยใส่ทะลายเปล่า อัตรา 150-225 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี
                       2.ศัตรูของปาล์มน  ามันและการป้องกันก าจัด
                       โรคที่ส าคัญ ได้แก่ โรคใบไหม้ในระยะต้นกล้า หากรุนแรงท้าให้ต้นกล้าถึงตายได้ โรคก้านทางใบบิด

               พบในต้นปาล์มที่มีอายุ 1-3 ปี หลังจากน้าลงปลูกในแปลง มีผลท้าให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้้ามัน
               หยุดชะงัก โรคยอดเน่าระบาดมากในฤดูฝนเข้าท้าลายต้นปาล์มน้้ามันตั้งแต่ในระยะกล้า แต่ส่วนใหญ่มักจะพบ
               โรคนี้กับต้นปาล์มน้้ามันอายุ 1-3 ปี ท้าให้ใบยอดทั้งใบเน่าแห้งเป็นสีน้้าตาลแดง สามารถดึงหลุดออกมาได้ง่าย
               โรคทะลายเน่า ท้าลายผลปาล์มก่อนที่จะสุก ระบาดมากในฤดูฝน ที่มีความชื้นสูงท้าให้เปอร์เซ็นต์กรดไขมัน

               อิสระเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการให้น้้ามันน้อยลงและโรคล้าต้นเน่า พบมากกับต้นปาล์มน้้ามันที่มีอายุมาก
               ปัจจุบันพบระบาดมากกับต้นปาล์มอายุ 10-15 ปี
                       แมลงศัตรูที่ส าคัญ ได้แก่ หนอนหน้าแมว ด้วงกุหลาบ ด้วงแรด
                       การป้องกันก้าจัดวัชพืช การควบคุมวัชพืชมีหลายวิธี เช่น การใช้แรงงาน การใช้เครื่องจักรตัดวัชพืช

               การใช้วัสดุคลุมดิน โดยใช้พืชตระกูลถั่ว และการใช้สารก้าจัดวัชพืช การปลูกแทนใหม่
                       การเก็บเกี่ยว ต้องเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มที่สุกพอดี หรือประมาณ 20-22 สัปดาห์ และส่งโรงงาน
               สกัดน้้ามันภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้น้้ามันปาล์มทั้งปริมาณและคุณภาพสูงต่อไร่ ซึ่งการปฏิบัติที่ถูกต้องและ
               เหมาะสมจะท้าให้ได้น้้ามันปาล์มที่มีคุณภาพดี
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20