Page 17 - ผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพและลดอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       13


               จากแร่ในกลุ่มไมก้าและกลุ่มเฟลด์สปาร์ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถน้าไปใช้ประโยชน์ได้  (กรมพัฒนาที่ดิน,
               2551)  หรือการที่จะท้าให้โพแทสเซียมอยู่ในลักษณะที่น้าไปใช้ได้มี 3 วิธีคือการสลายทางกายภาพ ทางเคมี

               และทางอินทรีย์ ซึ่งท้าได้โดยการใช้จุลินทรีย์พวกแบคทีเรียเข้าช่วยย่อยสลายจะท้าให้พืชสามารถน้า
               โพแทสเซียมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ท้าให้พืชไร่ พืชสวนและไม้ผลมีคุณภาพผลผลิตที่ดีขึ้น (มุกดา,
               2545)
                       จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุอื่นๆเช่น ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ซึ่งจะมีอยู่ในดิน

               ในสภาพที่พืชน้าไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ การใช้จุลินทรีย์เข้าช่วยย่อยสลายสามารถท้าให้ได้ธาตุอาหารที่มีในดิน
               เหล่านี้มาเป็นประโยชน์แก่พืชได้เพิ่มขึ้น จุลินทรีย์พวก Silicate  bacteria  สามารถช่วยให้พืชน้าซิลิเกตไป
               ใช้ได้ แร่ธาตุที่มีอยู่ในดินจะสามารถถูกท้าลายโดยกรดที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์ได้ (มุกดา, 2545)
                       จุลินทรีย์ที่สร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือฮอร์โมนพืชคือจุลินทรีย์ Azotobacter

               sp.,Azospirillun  sp. และ.Bacillus  sp. ฮอร์โมนที่สร้าง ได้แก่ ออกซิน มีหน้าที่ เกิดการขยายตัวของเซลล์
               การติดผลมากขึ้น ป้องกันการร่วงของผลและใบ ช่วยกระตุ้นการเจริญของรากขนอ่อนและช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวราก
               ท้าให้ความสามารถในการดูดน้้าธาตุอาหารเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น จิบเบอเรลลิน มีหน้าที่ กระตุ้นการเจริญเติบโต
               ของพืชทั้งต้น กระตุ้นการงอกของเมล็ดและ ท้าให้เกิดการแทงช่อดอก เป็นต้น และไซโตไคนิน มีหน้าที่

               กระตุ้นการแบ่งเซลล์ ชะลอกระบวนการเสื่อมสลาย ส่งเสริมให้พืชมีประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายอาหารจาก
               รากสู่รากพืช เป็นต้น
                      วัสดุขยายเชื อปุ๋ยชีวภาพ พด.12 (วัสดุส้าหรับการขยายเชื้อ)

                              1 ปุ๋ยหมัก                          300   กิโลกรัม
                              2 ร้าข้าว                           3      กิโลกรัม
                              3 ปุ๋ยชีวภาพ พด.12                  100   กรัม (1 ซอง)
                       วิธีการขยายเชื อ
                       1. ผสมปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และร้าข้าวน้้า 1 ปี๊บ (20 ลิตร) คนให้เข้ากันนาน 5 นาที

                       2. รดสารละลายปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ลงบนกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าให้เข้ากันปรับความชื้นให้ได้ 70
               เปอร์เซ็นต์
                       3.ตั้งกองปุ๋ยหมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีความสูง 50 เปอร์เซ็นต์ และใช้วัสดุคลุมกองปุ๋ยเพื่อรักษา

               ความชื้น
                       4.กองปุ๋ยหมักไว้ในที่ร่มเป็นระยะเวลา 4 วัน แล้วจึงน้าไปใช้
                       การใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 มีประโยชน์ในการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ 25-30 เปอร์เซ็นต์ เพิ่ม
               ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในดิน เพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช ช่วย

               สร้างสมดุลของธาตุอาหารพืช ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชและลดต้นทุนการผลิต (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                        จุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินกรด ดินเปรี ยวพด.9 หรือ จุลินทรีย์ พด.9
               เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการละลายฟอสฟอรัสโดยเปลี่ยนรูปจากสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟตที่
               ไม่ละลายน้้าหรือที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้อยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้ประกอบด้วยแบคทีเรีย Burkhoderia

               sp. 2 สายพันธุ์ โดยจุลินทรีย์ผลิตกรดอินทรีย์ เช่น กรดกลูโคมิค,กรดคีโตกลูโคมิค,กรดอะซิติค,กรดซิตริคหรือ
               กรดอนินทรีย์ เช่น กรดไนตริก กรดซัลฟูริค กรดไฮโดรคลอริกเป็นต้นรวมกับฟอสฟอรัสที่โดนตรึงเอาไว้ได้
               สารประกอบคีเลตซึ่งพืชสามารถน้าไปใช้ได้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553) จากการที่กรดอินทรีย์และสารฮิวมิค
               บางชนิดในดินท้าปฏิกิริยาคีเลชั่นกับเหล็กและอะลูมินั่มไอออนได้สารประกอบคีเลตที่มีเสถียรภาพโดยเหล็ก

               และอะลูมินั่มส่วนนั้นจะหมดโอกาสที่จะตรึงฟอสฟอรัสช่วยท้าให้พืชได้ประโยชน์ฟอสฟอรัสในดินเพิ่มมากขึ้น
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22