Page 11 - ผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพและลดอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        7


                     ข้อจ้ากัดและปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินเป็นกรดจัดมาก มีธาตุอะลูมินั่ม เหล็กและแมงกานีส
               ละลายออกมามากจนเป็นพิษ ธาตุฟอสฟอรัสถูกตรึงอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ ดินมี

               โครงสร้างดินแน่นทึบและคุณภาพน้้าเป็นกรดจัดและมีน้้าแช่ขังนาน (วุฒิชาติ, 2547)
                     ปาล์มน้้ามัน (Oil  plam) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeis  guineensis จัดอยู่ในตระกูลปาล์ม (Palme  หรือ
               Arecaceae  ) จัดเป็นพืชผสมข้าม ใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นพืชยืนต้นที่สามารถให้ผลผลิตทะลายสดได้ตลอดปี
               (ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10, 2551) ปาล์มน้้ามันมีหลายพันธุ์ พันธุ์ที่ดี คือ พันธุ์ปาล์มน้้ามันลูกผสม

               เทเนอรา (DxP) เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากแม่พันธุ์ดูร่า (Dura) กับพ่อพันธุ์ฟิสิเฟอร่า (Pisiifera) โดยเฉพาะแม่
               พันธุ์เดลิดูร่า (Deli Dura) ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ มีความสามารถถ่ายทอดลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ดีสู่ลูกหลาน
               เช่นให้ผลผลิตทะลายปาล์มสดสูงและสม่้าเสมอ องค์ประกอบของน้้ามันต่อทะลายดี มีการเจริญเติบโตดีและ
               แข็งแรง ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ท้าการคัดเลือกปาล์มน้้ามันพันธุ์ดีและส่งเสริมให้เกษตรกรน้าไปปลูก ได้แก่

               พันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,450 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตน้้ามันดิบ 897
               กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  น้้ามันต่อทะลาย 26 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย
               3,617 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตน้้ามันดิบ 839 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  น้้ามันต่อทะลาย 23 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์
               ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 2,939 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตน้้ามันดิบ 779 กิโลกรัม

               ต่อไร่ต่อปี น้้ามันต่อทะลาย 27 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 4 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,349
               กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตน้้ามันดิบ 831 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี น้้ามันต่อทะลาย 25 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์ลูกผสม
               สุราษฎร์ธานี 5 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,054 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตน้้ามันดิบ 788 กิโลกรัมต่อไร่

               ต่อปี  น้้ามันต่อทะลาย 26 เปอร์เซ็นต์ และ พันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 6 ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,258
               กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตน้้ามันดิบ 880 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  น้้ามันต่อทะลาย 27 เปอร์เซ็นต์ ปาล์มน้้ามัน
               แต่ละพันธุ์จะมีลักษณะเด่นต่างกัน โดยเฉพาะพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 และสุราษฎร์ธานี 4  มีลักษณะเด่น
               คือ การให้ผลผลิตในแต่ละปีสม่้าเสมอ แม้ว่าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ก้านทะลายยาวเก็บเกี่ยวง่าย มีเนื้อ
               ใน/ผล 10 และ 9 เปอร์เซ็นต์ ตามล้าดับ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2552)

                     ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้้ามัน
                     ราก เกิดขึ้นตรงโคนของล้าต้นเป็นระบบแขนง (Adventitious root system) มีระบบรากแบบรากฝอย
               ประกอบด้วยรากชุดต่างๆประมาณ 4 ชุด ได้แก่ รากชุดที่ 1 เป็นรากที่เจริญมาจากส่วนฐานของล้าต้นมีขนาด

               ใหญ่ที่สุดแล้วแตกย่อยเป็นรากชุดที่ 2 รากชุดที่ 3 และรากชุดที่ 4 ตามล้าดับ (ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค
               ที่ 10, 2551) รากชุดที่ 3 จะไม่มีรากขน รากชุดที่ 4 จะท้าหน้าที่ดูดน้้าและธาตุอาหาร ความหนาแน่นของ
               รากจะพบในรัศมีของพุ่มและลึกลงไปประมาณ 15 เซนติเมตร จากผิวดิน นอกจากนี้จะพบรากพิเศษคือราก
               อากาศตรงบริเวณโคนต้นท้าหน้าที่ถ่ายเทอากาศระหว่างรากกับบรรยากาศด้วย (กรมส่งเสริมการเกษตร,

               2545)
                     ล้าต้น มีลักษณะตั้งตรง มีเนื้อเยื่อเจริญเฉพาะตรงปลายยอด ไม่มีกิ่งแขนง ประกอบด้วยข้อและปล้องที่
               ถี่มาก แต่ละข้อมีหนึ่งทาง ใบเวียนล้าต้น ทั้งทางด้านซ้ายและด้านขวา โดยมีจ้านวนใบ 8 ทางใบต่อรอบ
               โดยทั่วไปความสูงของต้นปาล์มจะเพิ่มขึ้นปีละ 50 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ปาล์ม ระยะการปลูกหรือการ

               ตัดแต่งทางใบ
                     ใบ เป็นใบประกอบรูปขนนก (pinnate) แต่ละใบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนแกนกลาง (rachis) ที่มี
               ใบย่อยอยู่ 2 ข้างและส่วนของก้านทางใบซึ่งมีขนาดสั้นกว่าส่วนแรกและมีหนามสั้นๆอยู่ 2 ข้างแต่ละทางใบมี
               ใบย่อย 100-160 คู่ แต่ละใบย่อยจะยาว 80-120 เซนติเมตร กว้าง 4-6 เซนติเมตร ใบจะมีการพัฒนาจาก

               บริเวณเนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายยอดของล้าต้น
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16