Page 13 - ผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพและลดอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        9


                       การปลูกปาล์มน้้ามันเพื่อให้ได้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตสูงนั้น นอกจากการจัดการดินและน้้า
               เหมาะสมแล้ว การจัดการพืชก็เป็นสิ่งที่จ้าเป็น ตั้งแต่การเลือกกล้า การปลูก ระยะปลูกและการจัดการดูแล

               รักษาอย่างต่อเนื่อง เช่นการเลือกต้นสมบูรณ์แข็งแรง มีความสูงประมาณ 100-150 ซม.จากระดับดินในถุง
               และมีใบประกอบรูปขนนก อย่างน้อย 9 ใบส้าหรับช่วงฤดูการปลูกปาล์มน้้ามันที่เหมาะสมคือปลูกในช่วงฤดู
               ฝน หลังปลูกแล้วควรมีฝนตกอย่างน้อยประมาณ 3 เดือนไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องฤดูแล้งจะพบ
               ปัญหาแล้ง ขาดน้้า กล้าไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร

                       การวางแนวปลูกและเตรียมหลุมปลูก เมื่อเตรียมพื้นที่ปลูกแล้ว ให้วางแนวปลูกให้สอดคล้องกับความ
               ลาดเทของพื้นที่และการระบายน้้า เตรียมหลุมปลูกรูปตัวยู ขาด กว้างxยาวxลึก 45x45x35 ซม.โดยใช้ระยะ
               ปลูกที่เหมาะสม คือระยะระหว่างต้น 9 เมตร โดยปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ให้แถวปลูกหลักในแนว
               เหนือ-ใต้ เพื่อให้ปาล์มน้้ามันทุกต้นได้รับแสงแดดมากที่สุด และสม่้าเสมอเพื่อการสังเคราะห์แสงของปาล์ม

               จ้านวนต้นต่อไร่ 22 ต้น การปลูกถี่หรือห่างเกินไป มีผลกระทบต่อผลผลิต ผลผลิตลดลง
                       การปลูก หลังจากเตรียมหลุมปลูกเรียบร้อยแล้ว ตากดินไว้ประมาณ 10 วัน ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตรองก้น
               หลุมอัตรา 250 กรัมต่อหลุม น้ากล้าปาล์มน้้ามันมาปลูกแล้วกลบดินให้แน่น โคนต้นกล้าต้องอยู่ในระดับ
               เดียวกับดินเดิมของแปลงปลูก หลังจากปลูกแล้ว 1-2เดือนควรตรวจสอบความอยู่รอดแล้วปลูกซ่อมทันทีถ้ามี

               กล้าตาย หลังจากปลูกแล้วประมาณ 6-8 เดือนให้ตรวจสอบต้นปาล์มที่มีลักษณะผิดปกติแล้วท้าการปลูกซ่อม
               ทันทีและดูแลต่อเนื่อง
                       การให้ปุ๋ย ปาล์มน้้ามันเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารสูง ดังนั้นจ้าเป็นต้องประเมินความต้องการธาตุ

               อาหารของปาล์มน้้ามันก่อน เพื่อจะได้ใส่ปุ๋ยชนิดและอัตราที่เหมาะสม  เป็นการลดต้นทุนการผลิต วิธีการ
               ประเมินความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้้ามัน มี 2 วิธี คือพิจารณาจากลักษณะอาการที่มองเห็นที่ต้น
               ปาล์มที่แสดงอาการขาดธาตุอาหาร และจากการวิเคราะห์ใบปาล์มน้้ามัน ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมและแพร่หลายใน
               ปัจจุบัน
                       จากการวิเคราะห์ปริมาณการดูดใช้ธาตุอาหารของปาล์มน้้ามันที่อายุต่างๆตั้งแต่ปีที่ 1-10 และปีที่

               20 พบว่าปาล์มน้้ามันมีการดูดใช้ธาตุอาหารโพแทสเซียมมากที่สุด รองลงมาคือไนโตรเจน ส้าหรับฟอสฟอรัส
               และแมกนีเซียมต้องการไม่มากนัก และพบว่าปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนจะเหลือตกค้างอยู่ในล้าต้น (ส่วน
               เหนือดิน) เป็นส่วนใหญ่ ส่วนโพแทสเซียมจะติดไปกลับผลผลิตปาล์มน้้ามัน โดยเฉลี่ย ปริมาณธาตุอาหารที่ติด

               ไปกับผลปาล์มน้้ามัน 1 ตันของทะลายสด คือ ไนโตรเจน 2.94 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 0.44 กิโลกรัม
               โพแทสเซียม 3.71 กิโลกรัม แมกนีเซียม 0.77 กิโลกรัม แคลเซียม 0.81 กิโลกรัม และโบรอน 2.51
               กิโลกรัม ในขณะที่ปริมาณธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในส่วนเหนือดินของปาล์มน้้ามันที่อายุ 20 ปี มีไนโตรเจน
               3.24 กิโลกรัมต่อต้น ฟอสฟอรัส 0.47 กิโลกรัมต่อต้น โพแทสเซียม 1.51 กิโลกรัมต่อต้น แมกนีเซียม 1.79

               กิโลกรัมต่อต้น แคลเซียม 0.81 กิโลกรัมต่อต้น ดังนั้นถ้าเก็บผลผลิตปาล์มน้้ามันได้มากแสดงว่ามีธาตุอาหาร
               สูญเสียไปจากดินมาก จ้าเป็นต้องเพิ่มธาตุอาหารลงดินให้เพียงพอต่อความต้องการของปาล์มน้้ามัน (ยงยุทธ,
               2547 และเกริกชัย, 2547)
                       ธาตุอาหารที่จ าเป็นส าหรับปาล์มน  ามัน

                       ธาตุไนโตรเจน มีหน้าที่ส้าคัญในกระบวนการเมทาโบลิซึมของพืชเนื่องจาก เป็นส่วนประกอบที่ส้าคัญ
               ของกรดอะมิโน,โปรตีน,คลอโรฟิลล์และเอนไซม์บางชนิด เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาของเซลล์และเนื้อเยื่อ
               ที่มีชีวิต ท้าให้พืชมีสีเขียวและมีความแข็งแรง
                       ธาตุฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิคและนิวคลีโอโปรตีนซึ่งมีความส้าคัญต่อยีนต์,การ

               แบ่งเซลล์และการสร้างเซลล์ในพืช เป็นตัวถ่ายทอดพลังงานระหว่างสารต่อสารในระบบต่างๆเช่น การ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18