Page 12 - ผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพและลดอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        8


                       ช่อดอก ปาล์มน้้ามันเป็นพืชสมบูรณ์เพศ โดยดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกช่อดอกอยู่ในต้นเดียวกัน
               จะเริ่มออกดอกเมื่ออายุประมาณ 2-3 ปีหลังจากปลูก ช่อดอกเพศผู้ ประกอบด้วยดอกย่อย (Spikelet) มี

               ลักษณะยาวเรียวคล้ายนิ้วมือ เรียงอยู่บนแกนกลางช่อดอก เวลาดอกบานจะเห็นเป็นสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
               ช่อดอกเพศเมียเป็นแบบ Spike ประกอบด้วยช่อดอกย่อยเรียงเป็นเกลียวบนแกนช่อดอกใหญ่ เมื่อดอกพร้อมที่
               จะผสมจะเห็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งมี 3 แฉก จะมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนแถบแดงเคลือบด้วยเมือกเหนียวๆ เมื่อ
               พ้นระยะนี้แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วง ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมช่อดอกจะพัฒนาเป็นช่อดอกเพศเมีย

               เป็นส่วนใหญ่ การผสมมีลมและแมลงเป็นพาหะโดยเฉพาะด้วงปาล์มน้้ามัน เป็นแมลงที่ส้าคัญในการช่วยผสม
               เกสร
                       ผลและเมล็ด ผลปาล์มน้้ามันไม่มีก้านผลเป็นแบบ Sessile drup ประกอบด้วยเปลือกชั้นนอก เปลือก
               ชั้นกลางหรือกาบ ซึ่งเป็นส่วนที่มีน้้ามันอยู่ทั้ง 2 ส่วน เรียกรวมกันว่า Pericarp และมีชั้นในสุดเป็นกะลา

               ปาล์มน้้ามันที่ปลูกเป็นการค้าโดยทั่วไปพบว่ามีสีผิวที่เปลือกนอกอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1.ผลดิบเป็นสีเขียวเมื่อสุก
               เป็นสีส้ม เรียกว่า Virescens 2.ผลดิบมีสีด้า ปลายผลมีสีงาช้างเมื่อสุกมีสีแดง เรียกว่า Nigrescens และ 2.สี
               ผิวเมื่อสุกมีสีเหลืองซีด เรียกว่า Albescens ส้าหรับเมล็ดประกอบด้วยเนื้อในเมล็ดซึ่งมีน้้ามันอยู่เช่นกันและ
               ส่วนของคัพภะ เมล็ดจะงอกเมื่อได้รับการกระตุ้นโดยอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม

                       ทะลาย ประกอบด้วยก้านทะลาย ช่อดอกทะลายย่อย และผล ทะลายปาล์มที่เหมาะสมควรมีน้้าหนัก
               ทะลายระหว่าง 15-25 กก.เนื่องจากจะเป็นขนาดที่ให้สัดส่วนของผลปาล์มต่อทะลายมากที่สุด ท้าให้มี
               เปอร์เซ็นต์น้้ามันสูงสุด หากขนาดทะลายใหญ่จะให้จ้านวนทะลายน้อย แต่ถ้ามีทะลายมากจะให้ทะลายที่มี

               ขนาดเล็ก (ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10,2551)
                       สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมส าหรับปลูกปาล์มน  ามัน
                       ลักษณะดินที่เหมาะสมส้าหรับปลูกปาล์มน้้ามันควรมีความอุดมสมบูรณ์ถึงดี เป็นดินร่วนเหนียวถึงดิน
               เหนียว มีการระบายน้้าดี มีความลึกของชั้นดินมากกว่า 75 ซม. มีธาตุอาหารสูง ความเป็นกรดเป็นด่างที่
               เหมาะสมคือ pH 4.5-5.5 มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากกว่า 20 มก./กก. มีโพแทสเซียมที่

               แลกเปลี่ยนได้มากกว่า 0.25 cmol/kg.  มีแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มากกว่า 0.25 cmol/kg.  (นิตยา
               ,2547) สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม ปาล์มน้้ามันเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส และ
               ชอบบรรยากาศชุ่มชื้น โดยความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเฉลี่ยรอบปีไม่ต่้ากว่า 75 % มีปริมาณน้้าฝนระหว่าง

               1,800-3,000มม.ต่อปีมีการกระจายของฝนอย่างสม่้าเสมอ แสงไม่ต่้ากว่า 2,000 ชม.ต่อปีหรือ 5 ชม.ต่อ
               วัน (กรมวิชาการเกษตร,2547)
                       ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการจ้ากัดผลผลิตปาล์มน้้ามันมากที่สุด คือ ปริมาณและการกระจายของฝนซึ่ง
               เกี่ยวข้องกับความชื้นในดิน การที่ปาล์มน้้ามันได้รับปริมาณน้้าอย่างเพียงพอและแพร่กระจายอย่างสม่้าเสมอ

               จะช่วยให้กระบวนการพัฒนาในด้านการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของต้นปาล์มน้้ามันเป็นอย่างปกติและ
               สม่้าเสมอเช่นกันคือ กระบวนการพัฒนาจากจุดก้าเนิดตาดอก เป็นตาดอก เป็นดอกตัวเมีย เป็นทะลายปาล์ม
               น้้ามัน ไปจนถึงการสุกของผลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการหยุดพัก ซึ่งมีผลท้าให้เกษตรกรมีผลผลิตทะลาย
               ปาล์มน้้ามันออกจ้าหน่ายได้ตลอดทุกเดือนทั้งปี (กรมส่งเสริมการเกษตร,2542) ในกรณีที่พบช่วงแล้งหรือไม่มี

               ฝน ควรมีแหล่งน้้าในพื้นที่ที่สามารถให้น้้าแก่ปาล์มน้้ามันได้ ปาล์มน้้ามันต้องการน้้าเฉลี่ย 200 ลิตร/ต้น/วัน
               ในพื้นที่ที่มีแหล่งน้้าจ้ากัด ควรติดตั้งระบบน้้าแบบน้้าหยด ส่วนพื้นที่ที่มีน้้ามากเกินพอควรติดตั้งระบบน้้าแบบ
               mini sprinkler (กรมวิชาการเกษตร,ไม่ระบุปีพ.ศ.)
                       หลักการเขตกรรมที่ส้าคัญเพื่อให้ได้ผลผลิตปาล์มน้้ามันสูงสุด คือ ถ้าปลูกในที่ราบต้องมีร่องระบายน้้า

               ทุกๆ 4 แถวปาล์มที่ปลูก โดยขุดร่องลึก 1 เมตร ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน มีการคลุมดินบริเวณโคนต้น
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17