Page 9 - ผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพและลดอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        5


               แม้ว่าราคาปาล์มน้้ามันจะมีการปรับขึ้น-ลงตามกลไกของตลาด เกษตรกรก็จะไม่ประสบปัญหาด้านต้นทุนการ
               ผลิตหรือส่งผลกระทบน้อยมาก ท้าให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้

                        ดังนั้นโครงการวิจัยผลของใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้้ามัน เป็นศึกษาการเพิ่มธาตุ
               อาหารหลัก รอง เสริมและฮอร์โมนพืชที่เป็นประโยชน์แก่ปาล์มน้้ามัน  ลดการตรึงธาตุฟอสฟอรัส ปรับระดับ
               pH ให้เหมาะสม เพิ่มอินทรียวัตถุ เพิ่มจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ต่อการปลูกปาล์มน้้ามัน รักษาสภาพพื้นที่ให้
               มีความสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง ท้าให้ต้นปาล์มน้้ามันมีความอุดมสมบูรณ์สามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเพียงพอกับ

               ความต้องการของผู้บริโภคและตลาด  ลดการน้าเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ผลการศึกษาและวิธีการที่มี
               ประสิทธิภาพมีประโยชน์ให้ผลตอบแทนสูงสุดต่อเกษตรกรมากที่สุดจะได้น้าไปขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่และ
               พื้นที่อื่นๆเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีต่อไป


                                                       วัตถุประสงค์

                        1. ศึกษาผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพและลดอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้้ามันในพื้นที่ดิน
               เปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง
                        2. เพื่อศึกษาสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการจัดการดิน

                        3. เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ

                                                     การตรวจเอกสาร


                     ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดเป็นดินที่มีการพัฒนาเป็นระยะเวลานานลักษณะความแตกต่างของชั้นดินเห็น
               เด่นชัดมากเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้้ากร่อยหรือตะกอนน้้าทะเลที่มีสารประกอบของธาตุ
               ก้ามะถันปะปนอยู่ เมื่อเกิดกระบวนการทางเคมีจะกลายเป็นแร่ไพไรท์ (FeS ) สะสมและเมื่อตะกอนดินที่ทับ
                                                                              2
               ถมสูงขึ้น น้้าท่วมไม่ถึง จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเกิดเป็นกรดก้ามะถัน (H SO ) ขึ้นในชั้นดินและพบ
                                                                                   2
                                                                                      4
               สารประกอบจาโรไซท์ ซึ่งมีสีเหลืองฟางข้าวในชั้นดินด้วย ในดินเปรี้ยวจัดจะพบหญ้าประเภทกก กระจูดขึ้นอยู่
               ทั่วไป และเมื่อขุดลงไปในชั้นดินจะพบคราบสนิมเหล็กในดินและน้้า น้้าในดินเปรี้ยวจัดจะใสและมีรสฝาด
               (กรมพัฒนาที่ดิน, 2549) ลักษณะทั่วไปของดินเปรี้ยวจัดที่พบในบริเวณที่ราบลุ่ม ดินชั้นบนลึกตั้งแต่ 20-40
               เซนติเมตรเป็นดินเหนียวถึงเหนียวจัดมีสีเทาหรือสีเทาเข้มถึงด้า มีจุดประสีน้้าตาลแก่ สีแดงปนเหลือง และสี

               แดง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0-5.5 ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวมีสีพื้นเป็นสีน้้าตาล หรือสีน้้าตาลปน
               เทาถึงสีเทา มีจุดปะสีเหลืองปนน้้าตาล สีแดง หรือสีเหลืองฟางข้าว มีการระบายน้้าเลว ความสามารถในการ
               อุ้มน้้าสูง (นงคราญ, 2536)  การเกิดพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร
               อย่างรุนแรงท้าให้ปลูกพืชได้น้อยชนิดและให้ผลผลิตต่้า การปลูกพืชจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากความ

               รุนแรงของกรดที่เกิดขึ้นในดินโดยการละลายออกมาของธาตุบางชนิด เช่น อะลูมินั่ม เหล็ก และแมงกานีส
               จนถึงระดับที่เป็นพิษต่อพืชอีกทั้งท้าให้ธาตุฟอสฟอรัสซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักถูกตรึงให้อยู่ในรูปที่ไม่เป็น
               ประโยชน์ต่อพืชหรือถูกดูดดึงไปใช้ไม่ได้เมื่อปลูกพืชในสภาพน้้าแช่ขังแม้จะดูว่าเป็นการลดความเป็นกรดของ
               ดินโดยใช้น้้าแต่ปัญหาที่ตามมาก็คือความเป็นพิษจากก๊าซไข่เน่า จากเหล็กและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (พิสุทธิ์

               และคณะ, 2537)
                     ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดก้ามะถันมักเป็นดินที่มีข้อจ้ากัดของธาตุอาหารพืช พบว่า โดยมากจะขาดธาตุ
               N P K Ca Mg S Cu และ Mo จึงต้องมีการเพิ่มให้กับพืช  ดินกรดจะมีธาตุที่ละลายได้ในช่วง pH ต่้าออกมา
               มากกว่าปกติ เช่น อะลูมินัม และเหล็ก เป็นต้นเมื่อมีการใช้ปุ๋ยเคมีจึงต้องใช้อัตราที่สูงเนื่องจากมีธาตุอาหาร

               บางส่วนถูกตรึงโดยธาตุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัสจะถูกตรึงโดยอะลูมินัมและเหล็ก ปุ๋ยแอมโมเนียมและ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14