Page 8 - ผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพและลดอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        4


               และไม้ผล เนื่องจากดินเปรี้ยวจัดมีข้อจ้ากัดหลายอย่างเช่นสภาพการระบายน้้าเลวถึงเลวมาก มีน้้าท่วมขัง
               ตลอดปี และดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้าหรือธาตุอาหารที่จ้าเป็นบางอย่าง  การใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่

               พืชผักและไม้ผลต้องมีการปรับปรุงแก้ไขโดยเฉพาะการป้องกันน้้าท่วมขังและการระบายน้้าของดิน ตลอดการ
               แก้ไขความเป็นกรดของดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตปาล์มน้้ามันในพื้น
               ที่ดินเปรี้ยวจัดพบว่า ปุ๋ยเคมีในดินเปรี้ยวจัดจะมีธาตุที่ละลายออกมาได้ในช่วง pH ต่้าออกมามากกว่าปกติ ธาตุ
               อาหารหลักบางส่วนโดนตรึงไว้ โดยธาตุอาหารเหล่านั้นเมื่อมีการใช้ปุ๋ยเคมีต้องใช้ในอัตราที่สูง เช่น ฟอสฟอรัส

               จะถูกตรึงโดยอะลูมินั่มและเหล็ก ปุ๋ยแอมโมเนียมและโพแทสเซียมก็ถูกชะล้างได้ง่าย (เจริญและคณะ, 2540)
               และการใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะท้าให้ดินบริเวณรอบโคนต้น แข็ง แน่นทึบ รากชอนไชได้ยาก น้้าซึม
               ผ่านได้ยาก ดินจะแข็งมากในสภาพแห้งและมีความสามารถในการดูดซับต่้า ปุ๋ยเคมีที่มีความเข้มข้นมากอาจจะ
               เป็นอันตรายกับจุลินทรีย์ดินบางชนิดได้และหากปล่อยให้พื้นที่มีสภาพนี้นานไปจะค่อยๆทวีความรุนแรงเพิ่ม

               มากขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้้ามันได้และเกษตรกรจะสูญเสียเงินค่าปุ๋ยเคมีมาก
               ขึ้นและไม่สามารถใช้พื้นที่ท้าการเกษตรแบบยั่งยืนต่อไปในอนาคตได้ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2552) แต่ก็ยัง
               มีเกษตรกรหลายรายยังไม่เข้าใจยังคงใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกปาล์มน้้ามันเป็นส่วนใหญ่ซึ่งไม่สามารถช่วยให้การ
               เจริญเติบโต การให้ผลผลิตหรือคุณภาพของผลผลิตดีขึ้นเพียงแต่ท้าให้พื้นที่ปลูกปาล์มน้้ามันประสบปัญหามาก

               ยิ่งขึ้น เกษตรกรจึงควรมีการจัดการสวนอย่างถูกวิธีและเหมาะสมโดยการขุดคูยกร่องและปรับสภาพพื้นที่ปลูก
               ให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้้ามัน ปัจจุบันราคาจ้าหน่ายปุ๋ยเคมีตามท้องตลาดมีราคา
               ค่อนข้างสูง ตลอดจนปาล์มน้้ามันเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวหลายปี จะท้าให้เกษตรกรมีภาระด้านต้นทุนการ

               ผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปาล์มน้้ามันเป็นพืชที่มีการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเป็นอย่างมากซึ่งต้องมีธาตุอาหาร
               ในปริมาณที่เพียงพอ พบว่าค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการผลิตส้าหรับปุ๋ยเคมีสูงถึง 35-60% ของต้นทุนทั้งหมด
               (กรมวิชาการเกษตร, 2548)
                        พื้นที่ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ พบว่ามีพื้นที่ 6,239,361 ไร่
               โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณลุ่มน้้าจันทบุรีและชายฝั่ง

               ทะเลตะวันออกของภาคใต้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) ส้าหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ตอนล่าง
               พบว่าจังหวัดที่มีพื้นที่ดินเปรี้ยวมากที่สุดคือ นราธิวาสรองลงมาสงขลาและปัตตานีซึ่งมีพื้นที่  138,759
               136,711 และ 102,313 ไร่ตามล้าดับ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ทั้งหมด

               2,140,296 ไร่ มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้้ามันโดยในปีพ.ศ.2558 และ 2559 มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้้ามันที่ให้ผลผลิต
               แล้ว 36,401 และ 41,464 ไร่ตามล้าดับ ผลผลิตที่ได้ 71,018 และ 76,045 ตันตามล้าดับ ผลผลิตต่อไร่
               1,951 และ 1,834 กิโลกรัมต่อไร่ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) มีพื้นที่ที่เป็นดินเปรี้ยวจัด โดยมีลักษณะ
               เป็นดินเหนียวลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน มีสีด้าหรือสีเทาปนด้า มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก ดินล่าง

               มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย สีน้้าตาลปนเทา มีจุดประสีเหลืองและสีน้้าตาล มีปฏิกิริยาดิน
               เป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด คิดเป็นเนื้อที่ 62,052 ไร่หรือ ร้อยละ 2.90 ของพื้นที่ทั้งหมด (กรมพัฒนาที่ดิน,
               2558)
                        เป้าหมายของโครงการผลการใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และลดอัตราปุ๋ยเคมีเพื่อให้ดินเปรี้ยวจัดมีการ

               สะสมธาตุอาหารพืชทั้งธาตุอาหารหลัก รอง เสริมและฮอร์โมนพืชที่เป็นประโยชน์ให้เพียงพอกับความต้องการ
               ของปาล์มน้้ามันในการให้ผลผลิต ลดการตรึงธาตุอาหารพืช ลดความเป็นพิษของธาตุอะลูมินั่ม เหล็กและ
               แมงกานีส ต้นปาล์มน้้ามันสมบูรณ์แข็งแรง สามารถให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค
               เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดได้มากขึ้น เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ย

               อินทรีย์กันมากขึ้น ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ ท้าให้ต้นทุนการผลิตจากปุ๋ยเคมีที่สูงถึง 35-60% สามารถลดลงได้
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13